18940486

14 ขั้นตอน ฝึกน้องแมวจรจัดให้เชื่อง

หมวดหมู่สินค้า: A260 กรงหมากรงแมว

16 มกราคม 2565

ผู้ชม 133 ผู้ชม

ขายและผลิตขายกรงหมา กรงแมว
บ้านหมา บ้านแมว บ้านกระต่าย และสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ มีแบบให้เลือกหลายมีบริการออกแบบให้ฟรี บริการจัดส่งทั่วไทย ผลงานกรงหมากรงแมว
บ้านสุนัขหลังใหญ่
บ้านสุนัข
บ้านหมา
ขายกรงหมา
ขายกรงแมว
บ้านแมว
บ้านหมาราคา

                           ติดต่อสอบถาม



14 ขั้นตอน ฝึกน้องแมวจรจัดให้เชื่อง

แมวจรจัดนั้นคุ้นเคยกับคนน้อยมาก บางตัวพอเห็นคนก็หนีท่าเดียว แมวจรจัดส่วนใหญ่ก็คือแมวที่เกิดตามข้างถนนนั่นแหละ แต่ก็มีหลายตัวเหมือนกันที่เคยมีเจ้าของแล้วถูกทิ้ง ที่น่าสงสารที่สุดคือแมวหลงนี่แหละ แต่ไม่ว่าจะมีที่มายังไง แมวจรจัดที่คนส่วนใหญ่เรียกกันติดปากว่า "แมวจร" ก็มักจะมีนิสัยขี้ระแวง หวาดกลัวคน พอถึงตาจนก็จะสู้ยิบตาด้วยการกัดหรือข่วน ไม่มีหรอกที่จะกระโดดขึ้นตักมาซุกไซ้ (หมายถึงตอนเจอหน้ากันครั้งแรกน่ะ) เพราะขี้กลัวนี่แหละ เลยทำให้แมวจรฝึกให้เชื่องยากเหลือเกิน แต่ถ้าคุณตั้งใจแน่วแน่แล้วว่าอยากฝึกแมวจรให้เชื่อง เราก็มีวิธีมาฝากกัน แต่ก็ต้องอาศัยทั้งเวลาและความอดทน

1. ให้อาหารแมวจรนอกบ้าน

การฝึกให้เชื่องเป็นเรื่องที่ต้องทำหลังแมวจรย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านคุณแล้ว เพราะงั้นคุณต้องจัดการเรื่องแมวจรกลัวคนให้เรียบร้อยซะก่อน ไม่งั้นคงเอาเข้าบ้านไม่ได้แต่แรก การหมั่นให้อาหารแมวจรนี่แหละที่สร้างความสนิทสนมระหว่างกันได้ ถ้าไม่ได้เชื่อใจคุณหรือเข้าใจว่าคุณรัก อย่างน้อยแมวจรก็รู้ว่าเข้าใกล้คุณแล้วจะได้อาหารแน่นอน

- ให้อาหารแมวจรเวลาเดิมทุกวัน

2. จับแมวจร

แน่นอนอยู่แล้วว่าแมวจรมักพุ่งตัวหนีไปทันควันเวลาคุณเข้าใกล้ เพราะงั้นทางเดียวที่จะจับแมวจรเพื่อให้คุณเอาไปเลี้ยงในบ้านได้ คือวางกับดักที่ปลอดภัยสำหรับแมว แบบนี้คุณเองก็ปลอดภัยด้วย กรงดักแมวแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ประตูปิดตามหลังทันทีที่แมวก้าวเข้าไปเหยียบแผ่นเหล็กด้านในสุดของกรง

- วิธีล่อแมวเข้ากรงดัก ก็คือเอาอาหารที่แมวชอบชิ้นไม่ต้องใหญ่มากไปวางไว้ที่ด้านในสุดของกรง

- แมวอาจมีตกใจบ้างเวลาเหยียบแผ่นเหล็กแล้วประตูกรงปิดเสียงดัง แต่รับรองได้เลยว่าแมวจะไม่บาดเจ็บหรือเป็นอันตรายแน่นอน

- กรงดักแมวเดี๋ยวนี้มีขายเยอะแยะในเน็ต หรือจะลองติดต่อกู้ภัยหรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ใกล้บ้านดูก่อนก็ได้ เผื่อเขามีกรงดักแมวให้ยืม

- ปูผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวที่พื้นกรงดักให้นุ่มๆ ด้วยก็ดี

3. พาแมวจรเข้าบ้าน

จัดห้องหับให้น้องเหมียว ให้แมวจรอยู่ในพื้นที่จำกัดก่อน จนกว่าจะเริ่มคุ้นเคยกับคุณและสภาพแวดล้อมใหม่ๆ หาห้องเล็กๆ เงียบๆ มาสักห้อง เช่น ห้องน้ำ จะได้ห่างไกลจากทั้งคนและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น วางกระบะทราย ชามอาหาร ชามน้ำ และของเล่น 2 - 3 ชิ้นไว้ในห้องด้วย

- เช็คให้ชัวร์ว่าคุณปิดประตูหน้าต่างสนิทดีแล้ว แมวจะได้ไม่หนีไป และสำรวจห้องหารูหรือรอยแตกต่างๆ ที่แมวอาจจะมุดหนีออกไปได้เช่นกัน

- ถ้าในห้องนั้นมีชั้นวางของ ให้เอาทุกอย่างที่แมวอาจกระแทกตกลงมาออกให้หมด

- ทำมุมไว้ให้แมวได้ซ่อนตัว (เช่น หาลังกระดาษมาคว่ำ แล้วเจาะรู)

- อย่างน้อยช่วง 2 - 3 วันแรก ให้ใช้ดินปลูกต้นไม้ (ดินธรรมชาติ) แทนทรายแมวไปก่อน เพราะแมวจรจะคุ้นเคยกว่าทรายแมวที่ใช้กับกระบะทราย

- ตอนกลางคืนให้เปิดไฟดวงเล็กๆ ก็พอ อย่าเปิดไฟที่เพดานจนสว่างจ้า ห้องสลัวๆ หน่อยจะทำให้แมวจรรู้สึกปลอดภัยในที่ทางใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

- ถ้าอยากให้แมวทำความคุ้นเคยกับกลิ่นของคน ให้เอาเสื้อผ้าเก่าๆ ของคุณ (เช่น ถุงเท้าหรือเสื้อที่ไม่ใช้แล้ว) มาใส่ไว้ในห้องที่แมวอยู่

- ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมงกว่าแมวจรจะหายตื่น เริ่มสำรวจทำความคุ้นเคยกับห้องนั้น

4. พาน้องเหมียวไปหาหมอ

คุณต้องพาแมวจรไปตรวจร่างกายเบื้องต้นกับคุณหมอ (เช่น ฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ตรวจหาโรคลูคีเมียในแมว (FeLV) กับเอดส์แมว (FIV)) ถ้าเอาแมวใส่กรงเดินทาง (กล่องเดินทางแบบมีหูหิ้วด้านบน) จะสะดวกกว่ายกไปทั้งกรงที่ใช้ดักแมว

- เปิดประตูกรงเดินทาง แล้วปูผ้าห่มกับวางขนมไว้ข้างใน แมวจะได้สบายหน่อย

- เอาผ้าคลุมทั้งกรงดักแมวและกรงเดินทางไว้ แมวจะได้รู้สึกปลอดภัย

5. ดูแลแมวจร

ใช้เวลากับแมวจรได้แต่อย่าเพิ่งแตะต้องสัมผัสตัว

พอแมวจรหายตื่น เริ่มคุ้นเคยกับบ้านใหม่แล้ว ให้คุณเข้าไปในห้องเพื่อสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน คุณป้องกันการกัดหรือข่วนได้โดยใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือ และรองเท้าทุกครั้งก่อนเข้าห้อง ถ้ากลัวจัดจะถือกระดาษลังสักแผ่นเข้าไปด้วยก็ได้ ใช้ป้องกันตัวเผื่อแมวกระโจนเข้าใส่ไง

- โผล่หน้าเข้าไปให้แมวเห็นทุกวันเวลาเดิม แมวจะได้รู้สึกเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันและเกิดความเคยชิน

- เคาะก่อนเปิดประตู แล้วเดินเข้าไปในห้องช้าๆ

- พูดกับแมวเบาๆ สงบๆ ระหว่างจัดการเรื่องต่างๆ ให้แมว (เช่น เก็บอึฉี่ในกระบะทราย เปลี่ยนน้ำและอาหารให้)

- ห้ามจ้องตาตรงๆ กับแมวจร เดี๋ยวแมวจะรู้สึกว่าถูกคุกคามได้ ให้หลบตาแล้วก้มหัวนิดๆ แทน

- พอแมวเริ่มคุ้นกับคุณ ให้นั่งเล่นอยู่กับแมวนานขึ้นเป็นชั่วโมงทุกเช้าและทุกเย็น นอกจากจะพูดคุยกับแมวแล้ว คุณจะนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ หรือทำงานในคอมไปพลางๆ ก็ได้

- ห้าม อยู่ๆ ก็ยกตัวแมวขึ้นมาอุ้มเด็ดขาด รับรองว่าคุณจะโดนกัด ข่วน หรือขู่ฟ่อใส่แน่นอน

6. เล่นกับแมวจร

ชวนเล่นนี่แหละ วิธีสร้างความสนิทสนมแบบหวังผล ลองหาของเล่นชิ้นไม่ต้องใหญ่มากจากร้านขายของใช้สัตว์เลี้ยงหรือตามเน็ตก็ได้ มาให้แมวเล่นตอนคุณอยู่ในห้องด้วยกัน หรือคุณจะประดิษฐ์ ‘เบ็ดตกแมว’ ขึ้นมาเองก็ได้ โดยหาเศษผ้ามาติดปลายเชือก แล้วเอาเชือกไปผูกกับไม้ยาวๆ อีกที

-เวลาเล่นเบ็ดตกแมว คุณต้องอยู่ด้วยเสมอ เพราะไม่งั้นแมวอาจเผลอกลืนเชือกหรือเศษผ้าเข้าไปจนทำให้อุดตันในลำไส้ เดี๋ยวต้องหาหมอหรือผ่าตัดขึ้นมา

7. อ่านท่าทางก่อน ว่าแมวจร ‘พร้อม’ เล่นกับคุณหรือเปล่า

จะจับต้องแมวจรทีเหมือนเสี่ยงชีวิต อยู่ๆ ก็อาจตั้งการ์ดขู่ฟ่อขึ้นมา หรือถึงขั้นกระโจนใส่คุณเพราะกลัวจัดได้ คุณต้องรู้จักสังเกตท่าทีของแมว จะได้รู้ว่าตอนนี้แมวกำลังสบายใจอยู่หรือเปล่า แล้วค่อยขยับขยายต่อไป สัญญาณบอกว่าแมวไม่พร้อมก็เช่น กระโจนใส่ ร้องเสียงดัง หรือหูลู่ซะจนแบนติดหัว

- ถ้าไม่อยากให้คุณอุ้มหรือจับตัว รับรองว่าแมวจะขู่ฟ่อแบบจัดเต็ม

- แต่ถ้าน้องแมวดูค่อนข้างผ่อนคลาย ไม่แสดงท่าทีก้าวร้าวตอนคุณอยู่ใกล้ๆ นั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าน่าจะจับได้ไม่มีปัญหา

8. ให้แมวชินกับมือของคุณซะก่อน

แมวจรไม่เคยถูกใครสัมผัสแตะต้อง เพราะงั้นคุณต้องฝึกให้คุ้นเคยกับมือของคุณซะก่อน เริ่มจากแปะฝ่ามือลงบนพื้น รอจนแมวเข้ามาหาเอง แล้วปล่อยให้แมวเอาตัวชนหรือไถขา แขน หรือมือของคุณ

- อดใจไว้ อย่าเพิ่งลูบ ปล่อยแมวสำรวจมือหรือตัวคุณไปก่อน ให้แมวจรได้รู้ว่าคุณไม่มีพิษมีภัยอะไร

- ตอนแรกให้วางมือห่างจากตัวแมวหน่อย พอแมวเริ่มคุ้นกับมือคุณแล้ว ก็ค่อยขยับไปวางมือใกล้ๆ

- อย่าลืมว่าปล่อยให้แมวเข้าหาคุณก่อนเสมอ เพราะถ้าคุณเป็นฝ่ายเข้าหา อาจโดนแมวจู่โจมได้

9. ถึงเวลาลูบแมว

วินาทีที่คุณได้ลูบนี่แหละ ที่จะชี้ชะตาว่าแมวจรไว้ใจคุณหรือยัง ตกลงยอมหรือพร้อมจู่โจม? ให้คุณวางของเล่นไว้ใกล้ๆ มือ จากนั้นก็แปะฝ่ามือลงบนพื้นอย่างเคย พอแมวเดินเข้ามาหา ดม แล้วเอาหน้าหรือตัวดันมือคุณ ก็ฉวยโอกาส ค่อยๆ ยกมือขึ้น แล้วค้างไว้ในระดับสายตาของแมว

- ยกมือค้างไว้ที่ระดับสายตาแมวแป๊บนึง แล้วเริ่มลูบได้เลย

- ระหว่างนี้จับสังเกตท่าทีของแมวให้ดี ถ้าแมวเกร็งตัว สะบัดหางกระตุกไปมา รูม่านตาขยาย และหูลู่ติดหัวเมื่อไหร่ให้หยุดลูบทันทีแล้วถอยห่างออกมา

- ครั้งแรกถึงจะดีใจแค่ไหนก็ให้ลูบนิดเดียวพอ สรุปคือให้คุณชิงเลิกลูบซะ ก่อน แมวจะเป็นฝ่ายแสดงท่าทีไม่สบอารมณ์

10. ถ้าเป็นลูกแมวก็อุ้มได้

ถ้าแมวจรยังเป็นลูกแมว ก็ลองอุ้มได้เลย แล้วพอแมวชินมือก็ค่อยให้นั่งบนตักคุณ แต่ยังไงก็อย่าชะล่าใจ แมวจรก็กึ่งๆ เหมือนสัตว์ป่า ทางที่ดีให้ค่อยๆ ห่มตัวแมวด้วยผ้าเช็ดตัวอย่างเบามือ (ห่มถึงคอ) จะได้ไม่เสี่ยงถูกข่วนหรือกัด

- พลิกตัวลูกแมวให้หันหน้าออกจากตัวคุณ แล้วใช้มือคีบหนังที่หลังคอ (scruff) ให้มั่น จับให้ใกล้หูมากที่สุด และระวังอย่าจิกหรือบีบแน่นเกินไป

- ค่อยๆ ยกตัวลูกแมวขึ้นมาวางบนตักคุณ ถ้าลูกแมวว่าง่าย ให้ลูบและพูดคุยกับแมวด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน

- ถึงตามธรรมชาติแม่แมวจะคาบคอลูกแมวแบบนี้ แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่บางทีลูกแมวไม่ยอมให้คุณคีบคอ คุณต้องหัดอ่านสีหน้าท่าทางของแมว จะได้ดูออกว่าแมวชอบหรือหงุดหงิด

- ห้าม เข้าหาแมวหรือลูกแมวจากข้างหน้าเด็ดขาด

11. ดูแลขนของแมวจร

การแปรงขนนอกจากจะทำให้แมวได้คุ้นเคยกับสัมผัสของคุณแล้ว ยังทำให้แมวสบายตัวขึ้นด้วย เพราะขนสวยและผิวหนังสุขภาพดี ให้คุณแปรงขนน้องแมวด้วยแปรงขนนุ่มสำหรับแมวโดยเฉพาะ หรือจะใช้หวีเหล็กซี่ถี่สำหรับสางหาหมัดก็ได้

- ทั้ง 2 แบบที่ว่ามีขายทั่วไปตามร้านสัตว์เลี้ยงและในเน็ต

- หมัดนี่แหละตัวอันตรายของแมวจร เพราะอาจทำให้โลหิตจางรุนแรงถึงชีวิตได้ นอกจากสางขนด้วยหวีหาหมัดแล้ว คุณควรใช้ยาป้องกันหมัดโดยเฉพาะด้วย (ลองสอบถามคุณหมอดู)

12. ประเมินความเชื่องของแมวจร

ประเมินความเชื่องของแมวจร แมวจรนั้นมีทั้งแบบเปรียวมาก (ไม่คุ้นหรือไม่เคยสัมผัสคนเลย ไม่ก็เคยถูกคนทารุณ) พอเชื่อง (เคยสัมผัสคนแบบดีๆ มาบ้าง) และเชื่องมาก (แมวบ้านที่ถูกทิ้งกลายมาเป็นแมวจร แรกๆ อาจมีระแวงบ้างนิดๆ หน่อยๆ) แมวที่เปรียวมากจะเข้าหาและฝึกให้เชื่องได้ยากที่สุด ส่วนแมวที่เชื่องอยู่แล้วก็แค่ต้องทำความรู้จักคุ้นเคยกันก่อนเท่านั้นเอง

- แมวที่พอเชื่อง จะมองคนเป็นเหมือนแหล่งอาหาร แต่ไม่ต้องการให้คนมาแตะต้องตัว การที่ยังพอคุ้นเคยกับคนอยู่บ้าง ทำให้แมวไม่ตื่นเกินไป พอเข้าใจท่าทีของคนและสภาพแวดล้อมต่างๆ ของคน

- แมวที่พอเชื่องก็คือ ‘แมวประจำชุมชน’ ที่เราเห็นเดินไปเดินมาแถวบ้านนั่นแหละ

13. คาดเดาอายุของแมวจร

ถ้าคุณพอรู้ว่าแมวแก่หรือเด็ก ก็จะบอกได้คร่าวๆ ว่าแมวตัวที่ว่ายังพอฝึกให้เชื่องได้หรือเปล่า ถ้าเป็นลูกแมวอายุไม่เกิน 10 - 12 อาทิตย์นี่ฝึกได้ง่ายๆ เลย แมวแก่ที่เป็นแมวจรมาตลอดชีวิตนี่แหละที่โหดหิน คือฝึกยากมากไปจนถึงฝึกไม่ได้เลย

- ห้ามพรากลูกแมวจรไปจากแม่แมวจนกว่าจะหย่านม หรือก็คืออายุได้ประมาณ 13 อาทิตย์ เรื่องนี้สำคัญมากนะ ถ้าเป็นลูกหมา อายุประมาณ 8 อาทิตย์ก็เอามาเลี้ยงได้แล้ว แต่ลูกแมวนี่ห้ามเด็ดขาด! ถ้าคุณเอามาจากแม่แมวเร็วเกินไป จะส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกแมวในระยะยาว รวมถึงมีปัญหาด้านพัฒนาการด้วย ผู้เชี่ยวชาญต่างก็เห็นตรงกันว่าต้องรอจนลูกแมวอายุได้ 13 อาทิตย์นี่แหละถึงจะแยกจากแม่ได้อย่างปลอดภัย

- ถ้าลูกแมวจรยังอยู่กับแม่ ให้ดักจับมาพร้อมกัน จากนั้นก็เลี้ยงไว้ในบ้านจนกว่าลูกแมวจะหย่านม สุดท้ายคือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสัตว์เรื่องทำหมันแม่แมว แล้วค่อยปล่อยแม่แมวกลับไปถิ่นเดิม

14. ประเมินความสามารถของตัวเอง

การฝึกแมวจรให้เชื่องนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ไม่มีอะไรรับประกันได้หรอก ว่าสุดท้ายแมวจะเชื่องสมใจคุณ นอกจากเป็นเรื่องยากแล้วยังต้องใช้เวลานาน ถ้าเป็นลูกแมวก็อาจทำได้ใน 2 - 6 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นแมวโตนี่อาจนานเป็นปีขึ้นไป

- การฝึกแมวให้คุ้นเคยกับบ้านของคุณและตัวคุณเอง ต้องใช้เวลาเป็นหลายชั่วโมง ต่อวัน และติดต่อกันเป็นเดือนๆ ถามตัวเองดูให้ชัวร์ก่อน ว่าคุณมีเวลา ความพร้อม และความตั้งใจขนาดนั้นไหม

- แมวจรบางทีก็มีสารพัดโรค นอกจากค่าตรวจร่างกายและฉีดวัคซีนเบื้องต้นแล้ว อาจต้องมีค่าใช้จ่ายอีกสารพัด

เคล็ดลับ 

- คิดจะฝึกแมวจรให้เชื่อง ต้อง รับผิดชอบเลี้ยงดูในระยะยาวด้วย

- อย่าเสียใจไปถ้าฝึกแมวจรตัวใดตัวหนึ่งให้เชื่องไม่สำเร็จ เพราะแมวจรบางตัวก็ไม่เหมาะจะเลี้ยงเป็นแมวบ้านจริงๆ

- ถึงจะฝึกจนเชื่องแล้ว แต่แมวจรบางตัวก็ยังรักสันโดษ เพราะงั้นก็อย่าไปเซ้าซี้เลย รอเล่นตอนที่แมวเข้ามาหาเองดีกว่า

- แมวจรไม่เหมาะจะยกให้ใครรับเอาไปเลี้ยง เพราะจะเชื่องแต่กับคนที่ฝึกมันเท่านั้น

- เวลาเล่นกับแมว ทั้งแมวและคุณต้องอารมณ์ดีสบายใจ อย่าลืมลูบแมวอย่างนุ่มนวลเบามือเท่านั้น

- ควรหาซื้อ กรงแมว เพื่อให้เค้าอยู่เป็นที่ เป็นทาง ถ้าเราไม่มีพื้นที่ หรือห้องแบบปิดได้มิดชิด และไม่ควรขังน้องแมว ให้อยู่ในกรงแมวทั้งวัน เพราะอาจเครียดได้ ควรปล่อยเค้าออกมาเล่นข้างนอกบ้าง วันละ 1-2 ชั่วโมง

- ถ้าคุณไม่กล้าดักหรือจับตัวแมวจร ให้ปรึกษาสัตวแพทย์หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ เพราะถ้าเงอะๆ งะๆ จะถูกแมวกัดหรือข่วนได้จนอาจเจ็บป่วยขึ้นมา

คำเตือน

- มองดีๆ แมวจรก็เหมือนสัตว์ป่านั่นแหละ ถ้าไม่ระวัง เข้าไปหาสุ่มสี่สุ่มห้า ก็ถูกกัดถูกข่วนได้ง่ายๆ ถ้าคุณไม่กล้าดักหรือจับตัวแมวจร ให้ปรึกษาสัตวแพทย์หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์จะดีกว่า

- คุณภาพชีวิตของแมวจรถือว่าต่ำมาก ทั้งต้องเผชิญกับสภาพอากาศต่างๆ (เช่น ฝนตก ลมแรง) ติดเชื้อนู่นนี่ และอาจถูกทำร้ายจากทั้งคนและสัตว์อื่นๆ เพราะฉะนั้นเลยมีอายุขัยไม่ถึง 50% ของแมวบ้านเท่านั้น


บ้านหมากรงแมวเชียงราย 
บ้านหมากรงแมวเชียงใหม่ 
บ้านหมากรงแมวน่าน 
บ้านหมากรงแมวพะเยา 
บ้านหมากรงแมวแพร่ 
บ้านหมากรงแมวแม่ฮ่องสอน 
บ้านหมากรงแมวลำปาง 
บ้านหมากรงแมวลำพูน 
บ้านหมากรงแมวอุตรดิตถ์
บ้านหมากรงแมวกาฬสินธุ์ 
บ้านหมากรงแมวขอนแก่น 
บ้านหมากรงแมวชัยภูมิ 
บ้านหมากรงแมวนครพนม 
บ้านหมากรงแมวนครราชสีมา 
บ้านหมากรงแมวบึงกาฬ 
บ้านหมากรงแมวบุรีรัมย์ 
บ้านหมากรงแมวมหาสารคาม 
บ้านหมากรงแมวมุกดาหาร 
บ้านหมากรงแมวยโสธร 
บ้านหมากรงแมวร้อยเอ็ด 
บ้านหมากรงแมวเลย 
บ้านหมากรงแมวสกลนคร 
บ้านหมากรงแมวสุรินทร์ 
บ้านหมากรงแมวศรีสะเกษ 
บ้านหมากรงแมวหนองคาย 
บ้านหมากรงแมวหนองบัวลำภู 
บ้านหมากรงแมวอุดรธานี 
บ้านหมากรงแมวอุบลราชธานี 
บ้านหมากรงแมวอำนาจเจริญ 
บ้านหมากรงแมวกำแพงเพชร 
บ้านหมากรงแมวชัยนาท 
บ้านหมากรงแมวนครนายก 
บ้านหมากรงแมวนครปฐม 
บ้านหมากรงแมวนครสวรรค์ 
บ้านหมากรงแมวนนทบุรี 
บ้านหมากรงแมวปทุมธานี 
บ้านหมากรงแมวพระนครศรีอยุธยา 
บ้านหมากรงแมวพิจิตร 
บ้านหมากรงแมวพิษณุโลก 
บ้านหมากรงแมวเพชรบูรณ์ 
บ้านหมากรงแมวลพบุรี 
บ้านหมากรงแมวสมุทรปราการ 
บ้านหมากรงแมวสมุทรสงคราม 
บ้านหมากรงแมวสมุทรสาคร 
บ้านหมากรงแมวสิงห์บุรี 
บ้านหมากรงแมวสุโขทัย 
บ้านหมากรงแมวสุพรรณบุรี 
บ้านหมากรงแมวสระบุรี 
บ้านหมากรงแมวอ่างทอง 
บ้านหมากรงแมวอุทัยธานี 
บ้านหมากรงแมวจันทบุรี 
บ้านหมากรงแมวฉะเชิงเทรา 
บ้านหมากรงแมวชลบุรี 
บ้านหมากรงแมวตราด 
บ้านหมากรงแมวปราจีนบุรี 
บ้านหมากรงแมวระยอง 
บ้านหมากรงแมวสระแก้ว 
บ้านหมากรงแมวกาญจนบุรี 
บ้านหมากรงแมวตาก 
บ้านหมากรงแมวประจวบคีรีขันธ์ 
บ้านหมากรงแมวเพชรบุรี 
บ้านหมากรงแมวราชบุรี 
บ้านหมากรงแมวกระบี่ 
บ้านหมากรงแมวชุมพร 
บ้านหมากรงแมวตรัง 
บ้านหมากรงแมวนครศรีธรรมราช 
บ้านหมากรงแมวนราธิวาส 
บ้านหมากรงแมวปัตตานี 
บ้านหมากรงแมวพังงา 
บ้านหมากรงแมวพัทลุง 
บ้านหมากรงแมวภูเก็ต 
บ้านหมากรงแมวระนอง 
บ้านหมากรงแมวสตูล 
บ้านหมากรงแมวสงขลา 
บ้านหมากรงแมวสุราษฎร์ธานี 
บ้านหมากรงแมวยะลา 
บ้านหมากรงแมวกรุงเทพมหานคร
 
บ้านหมากรงแมวคลองสาน 
บ้านหมากรงแมวคลองสามวา 
บ้านหมากรงแมวคลองเตย
บ้านหมากรงแมวคันนายาว 
บ้านหมากรงแมวจอมทอง 
บ้านหมากรงแมวดอนเมือง
บ้านหมากรงแมวดินแดง 
บ้านหมากรงแมวดุสิต 
บ้านหมากรงแมวตลิ่งชัน 
บ้านหมากรงแมวทวีวัฒนา
บ้านหมากรงแมวทุ่งครุ 
บ้านหมากรงแมวธนบุรี 
บ้านหมากรงแมวบางกอกน้อย
บ้านหมากรงแมวบางกอกใหญ่ 
บ้านหมากรงแมวบางกะปิ 
บ้านหมากรงแมวบางคอแหลม
บ้านหมากรงแมวบางซื่อ 
บ้านหมากรงแมวบางนา 
บ้านหมากรงแมวบางพลัด 
บ้านหมากรงแมวบางรัก
บ้านหมากรงแมวบางเขน 
บ้านหมากรงแมวบางแค 
บ้านหมากรงแมวบึงกุ่ม 
บ้านหมากรงแมวปทุมวัน
บ้านหมากรงแมวประเวศ 
บ้านหมากรงแมวป้อมปราบศัตรูพ่าย 
บ้านหมากรงแมวพญาไท
บ้านหมากรงแมวพระนคร 
บ้านหมากรงแมวพระโขนง 
บ้านหมากรงแมวภาษีเจริญ 
บ้านหมากรงแมวมีนบุรี
บ้านหมากรงแมวยานนาวา 
บ้านหมากรงแมวราชเทวี 
บ้านหมากรงแมวราษฎร์บูรณะ
บ้านหมากรงแมวลาดกระบัง 
บ้านหมากรงแมวลาดพร้าว 
บ้านหมากรงแมววังทองหลาง
บ้านหมากรงแมววัฒนา 
บ้านหมากรงแมวสวนหลวง 
บ้านหมากรงแมวสะพานสูง
บ้านหมากรงแมวสัมพันธวงศ์ 
บ้านหมากรงแมวสาทร 
บ้านหมากรงแมวสายไหม
บ้านหมากรงแมวหนองจอก 
บ้านหมากรงแมวหนองแขม 
บ้านหมากรงแมวหลักสี่ 
บ้านหมากรงแมวห้วยขวาง
บ้านหมากรงแมวเมืองนครปฐม 
บ้านหมากรงแมวกำแพงแสน 
บ้านหมากรงแมวดอนตูม
บ้านหมากรงแมวนครชัยศรี 
บ้านหมากรงแมวบางเลน 
บ้านหมากรงแมวพุทธมณฑล 
บ้านหมากรงแมวสามพราน
บ้านหมากรงแมวเมืองนนทบุรี 
บ้านหมากรงแมวบางกรวย 
บ้านหมากรงแมวบางบัวทอง
บ้านหมากรงแมวบางใหญ่ 
บ้านหมากรงแมวปากเกร็ด 
บ้านหมากรงแมวไทรน้อย
บ้านหมากรงแมวเมืองปทุมธานี 
บ้านหมากรงแมวคลองหลวง 
บ้านหมากรงแมวธัญบุรี
บ้านหมากรงแมวลาดหลุมแก้ว 
บ้านหมากรงแมวลำลูกกา 
บ้านหมากรงแมวสามโคก 
บ้านหมากรงแมวหนองเสือ
บ้านหมากรงแมวเมืองสมุทรปราการ 
บ้านหมากรงแมวบางพลี 
บ้านหมากรงแมวบางเสาธง
บ้านหมากรงแมวพระประแดง
 บ้านหมากรงแมวพระสมุทรเจดีย์
บ้านหมากรงแมวเมืองระยอง
บ้านหมากรงแมวนิคมพัฒนา 
บ้านหมากรงแมวเขาชะเมา
บ้านหมากรงแมวบ้านฉาง 
บ้านหมากรงแมวปลวกแดง 
บ้านหมากรงแมววังจันทร์ 
บ้านหมากรงแมวแกลง
บ้านหมากรงแมวเมืองชลบุรี 
บ้านหมากรงแมวเกาะจันทร์ 
บ้านหมากรงแมวบางละมุง
บ้านหมากรงแมวบ่อทอง  
บ้านหมากรงแมวบ้านบึง 
บ้านหมากรงแมวพนัสนิคม
บ้านหมากรงแมวพานทอง
บ้านหมากรงแมวศรีราชา 
บ้านหมากรงแมวสัตหีบ 
บ้านหมากรงแมวหนองใหญ่ 
บ้านหมากรงแมวเกาะสีชัง
บ้านหมากรงแมวเมืองสมุทรสาคร 
บ้านหมากรงแมวกระทุ่มแบน 
บ้านหมากรงแมวบ้านแพ้ว 
บ้านหมากรงแมวมหาชัย
บ้านหมากรงแมวเมืองสมุทร
บ้านหมากรงแมวอัมพวา 
บ้านหมากรงแมวบางคนที
บ้านหมากรงแมวเมืองราชบุรี 
บ้านหมากรงแมวบ้านคา 
บ้านหมากรงแมวจอมบึง
บ้านหมากรงแมวดำเนินสะดวก 
บ้านหมากรงแมวบางแพ 
บ้านหมากรงแมวบ้านโป่ง
บ้านหมากรงแมวปากท่อ
บ้านหมากรงแมววัดเพลง 
บ้านหมากรงแมวสวนผึ้ง 
บ้านหมากรงแมวโพธาราม
บ้านหมากรงแมวเมืองฉะเชิงเทรา 
บ้านหมากรงแมวคลองเขื่อน 
บ้านหมากรงแมวท่าตะเกียบ 
บ้านหมากรงแมวบางคล้า
บ้านหมากรงแมวบางน้ำเปรี้ยว 
บ้านหมากรงแมวบางปะกง 
บ้านหมากรงแมวบ้านโพธิ์
บ้านหมากรงแมวพนมสารคาม
บ้านหมากรงแมวราชสาส์น 
บ้านหมากรงแมวสนามชัยเขต 
บ้านหมากรงแมวแปลงยาว
บ้านหมากรงแมวเมืองนครนายก 
บ้านหมากรงแมวปากพลี 
บ้านหมากรงแมวบ้านนา 
บ้านหมากรงแมวองครักษ์
 
Engine by shopup.com