17488790

การพัฒนาน้ำบาดาลภายในประเทศอย่างไร

หมวดหมู่สินค้า: A170 น้ำบาดาล

14 มกราคม 2565

ผู้ชม 162 ผู้ชม

ช่างเจาะบาดาล
การเจาะบ่อน้ำบาดาล
บริการขุดเจาะบาดาล
รับเจาะบ่อน้ำบาดาล
ขุดเจาะบาดาล
การจัดหาแหล่งน้ำบาดาล
แนะนำช่างเจาะบ่อน้ำบาดาลในจังหวัด
รับสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาล
ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล

        ติดต่อช่างเจาะบาดาล




การใช้น้ำของมนุษย์ในโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ แต่ที่แน่นอนคือเริ่มต้นจากประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แห้งแล้ง การนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ในอดีตมีหลักฐานสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบันในแถบเอเซียกลาง ทั้งในประเทศอียิปต์ และอิหร่าน ซึ่งมีมาตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ Kanat ซึ่งเป็นระบบอุโมงค์ส่งน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร ขุดขึ้นตามแนวชั้นหินหรือชั้นทรายที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาล โดยทำเป็นปล่องที่สามารถสูบหรือตักน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะ ๆ ตลอดความยาวของอุโมงค์ ตัวอุโมงค์มักเริ่มจากเชิงเขาไปตามความลาดเอียงของภูมิประเทศ น้ำบาดาลจะไหลตามความลาดเอียงของอุโมงค์เหมือนน้ำในลำคลอง ระบบ Kanat ที่เมืองเตหะรานยาว 8-16 ไมล์ ลึกที่สุดประมาณ 150 เมตร สามารถใช้ทำกสิกรรมและอุปโภคบริโภคสำหรับคนถึง 275,500 คน ระบบ Kanat เมืองดิชฟุล ขุดไปตามแนวสันทรายใต้ดินลอดใต้ตัวเมือง อาคารบ้านเรือน และพื้นที่กสิกรรมทำให้เกิดระบบถ่ายเทความร้อนและได้รับความเย็นชุ่มชื่นจากอุโมงค์ส่งน้ำในฤดูร้อน ระบบ Kanat ในอียิปต์สร้างโดยพลเรือนเอกไชลอกช์ เพื่อการชลประทานในพื้นที่ 1,800 ตารางไมล์ โดยการขุดอุโมงค์เข้าไปในชั้นหินทรายได้น้ำบาดาลจากแนวรอยเลื่อนของหิน การพัฒนาน้ำบาดาลระบบ Kanat เป็นการดำเนินการด้วยวิธีการขุดทั้งสิ้น
 
การพัฒนาน้ำบาดาลโดยการเจาะเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศจีนประมาณปี พ.ศ.1669 เครื่องเจาะเครื่องแรกประกอบด้วย ไม้และไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เป็นก้านเจาะและท่อกรุการทำงานของเครื่องเจาะใช้หลักการแบบเจาะกระทุ้งโดยใช้แรงคน สามารถเจาะได้ลึกประมาณ 1,500 เมตร โดยใช้เวลาในการเจาะบ่อดังกล่าวถึง 3 ช่วงอายุคน ต่อมาในปี พ.ศ. 2421 จึงมีการประดิษฐ์เครื่องเจาะแบบใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนแรงคนขึ้นในสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็มีการดัดแปลงแก้ไขปรับปรุงทั้งเครื่องเจาะ วิธีการเจาะเรื่อยมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องเจาะกระทุ้ง (Churn drill) เครื่องเจาะสว่าน (Auger drill) เครื่องเจาะฉีด (Jet drill) เครื่องเจาะกระแทก (Percussion drill) เครื่องเจาะหมุน (Rotary drill) เครื่องเจาะหมุนกลับ (Reverse rotary drill) ฯลฯ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
 
สำหรับด้านวิชาการน้ำบาดาลที่เกี่ยวกับทฤษฎี การเกิด การกักเก็บ และพฤติกรรมต่าง ๆ ของน้ำบาดาลเกิดขึ้นมาในภายหลัง โดยในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 มีแนวคิดของนักปรัชญาโรมัน และกรีก เกี่ยวกับกำเนิดของน้ำบาดาลค่อนข้างจะแปลกประหลาดพิลึกพิลั่น เช่น น้ำพุเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลผ่านเข้าไปใต้ภูเขาเป็นลำธารใต้ดิน และมีสิ่งที่ช่วยกรองให้น้ำเค็มกลายเป็นน้ำจืดแล้วปล่อยออกมาเป็นน้ำพุ หรือในประเทศเยอรมนีมีความเชื่อว่าโลกเป็นสัตว์มหึมาที่ดูดกลืนน้ำทะเลเข้าไปแล้วคายออกมาเป็นน้ำพุ
 
ตอนปลายของศตวรรษที่ 17 เริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของอุทกธรณีวิทยาและวัฏจักรของน้ำ มีการตั้งทฤษฎีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักฐานข้อมูล และการคำนวณตัวเลขที่ได้จากการทดลอง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการวางรากฐานวิชาธรณีวิทยาขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ อุทกธรณีวิทยา การกำเนินและการเคลื่อนไหวของน้ำบาดาล ระหว่างปี พ.ศ. 2346-2401 Henry Darcy ได้เป็นผู้ให้กำเนิด Darcy's lawซึ่งเป็นรากฐาน ของวิชาการน้ำบาดาลที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มีการเจาะบ่อบาดาลได้น้ำพุในประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับวิชาการน้ำบาดาล มากขึ้นอย่างกว้างขวาง
 
 
 
การพัฒนาน้ำบาดาลภายในประเทศ
การใช้น้ำบาดาลในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างแน่ชัดเช่นกันการตั้งชุมชนของคนไทยในสมัยโบราณส่วนใหญ่มักอยู่ในบริเวณที่ ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง อันเป็นแหล่งกักเก็บน้ำผิวดินตามธรรมชาติในอดีตประชากรของประเทศยังมีปริมาณไม่มากนัก จึงมีแหล่งน้ำผิวดินเพียงพอที่จะใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมได้ในทุกฤดูกาล ประกอบกับประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุก ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ แม้จะมีฝนตกเฉพาะในช่วงฤดูฝนและไม่มีฝนตกในช่วงฤดูแล้ง
 
แต่แหล่งกักเก็บน้ำผิวดินก็ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมในแต่ละปี  แต่ก็มีชุนของคนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำผิวดิน หรือแม้จะตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำผิวดินแต่ก็มีขนาดเล็กไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอที่จะใช้ได้ตลอดฤดูแล้ง จึงมีการขุดบ่อบาดาลโดยอาศัยแรงคน โดยบ่อขุดในสมัยโบราณจะเป็นบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยม มีการกรุรอบบ่อด้วยไม้กระดานหรือการน้ำก้อนหินมาเรียงบริเวณขอบบ่อเพื่อกันดินพัง
 
บางแห่งก็ไม่มีการกรุบ่อเลยเนื่องจากเป็นการขุดบ่อใช้ชั่วคราวในช่วงหน้าแล้งที่ขาดน้ำเท่านั้น ความลึกของบ่อขุดขึ้นอยู่กับระดับน้ำบาดาลในบริเวณนั้นว่าลึกเท่าใด การพัฒนาน้ำบาดาลของประชาชนคนไทยในเบื้องต้นจึงเป็นการพัฒนาน้ำบาดาลระดับตื้นโดยการขุดเท่านั้น
 
ต่อมาประเทศไทยได้พัฒนาประเทศด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายหนึ่งก็คือการมีส้วมซึมทุกหลังคาเรียนในชุมชนทุกชุมชน การทำส้วมซึมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นในชุมชนต่าง ๆ เสียไป เนื่องจากการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากการขับถ่ายของมนุษย์ ภายหลังจึงเกิดภาพที่ประชาชนไปเข็นน้ำจากบ่อขุดตามท้องไร่ท้องนาที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากชั้นน้ำไม่ได้ถูกปนเปื้อนจากส้วมซึม
 
 
 
การเจาะบ่อน้ำบาดาลระดับลึกในประเทศไทย
การเจาะบ่อน้ำบาดาลระดับลึกในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2450 โดนนายเส็งยัง แซ่อาว เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนฮวด ได้เจาะบ่อน้ำบาดาลโดยใช้ไม้ไผ่ ต้นแบบของเครื่องเจาะไม้ไผ่มากจากประเทศจีน โดยเจาะบ่อบาดาลบ่อแรกที่โรงพยาบาลเทียบหัวย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ใกล้โรงภาพยนตร์นิวโอเดียนในอดีต ความลึกประมาณ 120 เมตร ได้น้ำบาดาลพอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ บริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการน้ำบาดาลแห่งแรกของประเทศไทยคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนวด โดยรับจ้างเจาะบ่อน้ำบาดาลด้วย เครื่องเจาะแบบไม้ไผ่ตลอดมาจนถึงปลายปี พ.ศ.2510 ได้ทำการเจาะบ่อน้ำบาดาลด้วยเครื่องเจาะไม้ไผ่เป็นครั้งสุดท้ายที่บริเวณที่ดินจัดสรรใกล้โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ และได้เลิกใช้เครื่องเจาะประเภทนี้ตั้งแต่นั้นมา
 
โดนนายเส็งยัง แซ่อาว เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนฮวด ได้เจาะบ่อน้ำบาดาลโดยใช้ไม้ไผ่ ต้นแบบของเครื่องเจาะไม้ไผ่มากจากประเทศจีน โดยเจาะบ่อบาดาลบ่อแรกที่โรงพยาบาลเทียบหัวย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ใกล้โรงภาพยนตร์นิวโอเดียนในอดีต ความลึกประมาณ 120 เมตร ได้น้ำบาดาลพอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ บริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการน้ำบาดาลแห่งแรกของประเทศไทยคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนวด โดยรับจ้างเจาะบ่อบาดาลด้วย เครื่องเจาะแบบไม้ไผ่ตลอดมาจนถึงปลายปี พ.ศ.2510 ได้ทำการเจาะบ่อบาดาลไม้ไผ่เป็นเครื่องสุดท้ายที่บริเวณที่ดินจัดสรรใกล้โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ และได้เลิกใช้เครื่องเจาะประเภทนี้ตั้งแต่นั้นมา
 
พ.ศ. 2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดให้มีการประปาในกรุงเทพฯ โดยใช้แหล่งน้ำผิวดินในคลองประปา เป็นแหล่งน้ำดิบ ในอดีตแหล่งน้ำผิวดินมีเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค เนื่องจากยังไม่มีประชากรหนาแน่นดังเช่นปัจจุบัน ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขยายตัวของชุมชน และขยายเขตบริการของการประปา ทำให้มีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลมาใช้ เป็นน้ำดิบร่วมกับแหล่งน้ำผิวดิน
 
พ.ศ. 2461
กรมราชทัณฑ์ได้จ้างชาวตะวันตกไม่ปรากฏสัญชาติใช้เครื่องเจาะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เจาะบ่อบาดาลที่เรือนจำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเจาะบ่อบาดาลในเรือนจำต่าง ๆ อีกหลายแห่งในจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งเรือนจำกรุงเทพฯ ดังนั้นงานด้านการเจาะพัฒนา น้ำบาดาลครั้งแรกในประเทศไทยเริ่มต้นครั้งแรกโดยภาพเอกชน สำหรับหน่วยงานราชการหน่วยแรกที่เริ่มพัฒนาน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์คือ กรมราชทัณฑ์
 
พ.ศ. 2476
-
2501
กรมโยธาธิการได้ซื้อเครื่องเจาะอีเวอร์ท (E-Worth) ซึ่งเป็นเครื่องเจาะแบบลูกผสม (Combination) และได้ว่าจ้างวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ นายกาเบรียล (Mr. Gabrial) เป็นผู้ดำเนินการเจาะ และได้ซื้อเครื่องเจาะแบบกระแทกยี่ห้อ Bycirus Erri จากประเทศอังกฤษ จำนวน 2 เครื่อง เพื่อเจาะบ่อบาดาลสำหรับการทำประปาเทศบาลและสุขาภิบาลต่าง ๆ ตามคำร้องขอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 กรมโยธาธิการได้จัดตั้ง โครงการเจาะน้ำบาดาล โดยสังกัดกองประปาภูมิภาค กำหนดเป้าหมายเจาะบ่อบาดาลในท้องถิ่นชนบททั่วราชอาณาจักร
 
พ.ศ. 2480
ประมาณ ปี พ.ศ. 2480 มีการสั่งหัวตอกจากต่างประเทศเข้ามาทำบ่อตอกน้ำบาดาลในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง การทำบ่อตอกส่วนใหญ่ทำในบริเวณที่มีน้ำบาดาลระดับตื้น ประเภท กรวด ทราย ตามหัวเมืองภาคต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน กาญจนบุรี ราชบุรีและสงขลา ซึ่งมีชั้นน้ำบาดาลอยู่ลึกระหว่าง 15-20 เมตร ตามบริเวณทางน้ำเก่า หรือบริเวณใกล้ทางน้ำสายปัจจุบัน
 
พ.ศ. 2490
บริษัท บางกอกวอเตอร์เวอร์ค จำกัด ได้สั่งซื้อเครื่องเจาะแบบ Reverse rotary จากประเทศอังกฤษ เพื่อเจาะบ่อบาดาลในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นการเจาะบ่อบาดาลเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 8 นิ้ว เพื่อสูบน้ำทำประปาให้แก่การประปานครหลวงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีการเจาะ บ่อบาดาลในกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวาง มีบริษัทรับจ้างเจาะบ่อบาดาล และขายเครื่องสูบน้ำบ่อลึก ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง บางบริษัทสามารถสร้าง เครื่องเจาะได้เอง โดยเหตุที่เครื่องเจาะชนิดนี้สามารถใช้เจาะได้ในชั้นน้ำบาดาลประเภทกรวด ทรายเท่านั้น
 
การเจาะบ่อจึงดำเนินการอยู่ในเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงเครื่องเจาะที่กล่าวมาข้างต้นเหมาะสำหรับการทำบ่อบาดาลขนาดใหญ่ เพื่อทำประปาและอุตสาหกรรมเท่านั้น จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจาะบ่อบาดาลขนาดเล็กที่จะใช้ในครัวเรือนหรือหมู่บ้านที่ต้องการใช้บ่อขนาด 2-6 นิ้ว จึงมีการสร้างเครื่องเจาะหมุนขึ้น ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 ส่วนแท่นเจาะหมุนสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510
 
 
 
กว่าจะเป็นกองน้ำบาดาล
พ.ศ. 2495
กรมอนามัยได้รับเครื่องเจาะแบบสว่าน (Auger) จาก ECA และ MSA จำนวน 10 เครื่อง ดำเนินการเจาะ ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2497 ระยะเวลา 2 ปี ในพื้นที่ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี เจาะบ่อบาดาล จำนวน 374 บ่อ เจาะได้ผลเพียง 13% เนื่องจากขาดความรู้และข้อมูลด้านวิชาการน้ำบาดาล
 
พ.ศ. 2496
กรมโลหกิจ ได้ส่งนักธรณีวิทยาประกอบไปด้วย นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และ นายดิ้น บุนนาค ออกทำการสำรวจธรณีวิทยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลการสำรวจทางธรณีวิทยาชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในภาคนี้โดยทำอ่างเก็บน้ำ และเจาะบ่อตื้นจะได้ผลน้อยและ สภาพทางธรณีวิทยาแสดงให้เห็นว่าใต้พื้นดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจเป็นที่กักเก็บน้ำบาดาลจำนวนมากพอที่จะใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ ในอีกทางหนึ่ง
 
พ.ศ. 2497
กระทรวงอุตสาหกรรม กับคณะเจ้าหน้าที่องค์การให้ความช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกาคือองค์กร Special Technical Economic Mission หรือเรียกว่า STEM (องค์การความช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเปลี่ยนไปต่าง ๆ กันคือ ECA MSA STEM ICA และ USOM) ได้ร่วมกันพิจารณาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นภาคที่มีภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งมากที่สุด และรุนแรงยิ่งกว่าภาคใด ๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 166,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 32.5 % ของพื้นที่ของประเทศ มีพลเมืองมากถึง 8,991,543 คน หรือประมาณ 34.24% ของพลเมืองทั่วประเทศ (ข้อมูลในขณะนั้น) พื้นที่และพลเมืองมีประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ นับว่าเป็นทุน และกำลังอันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคนี้ จึงมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรง ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการบรรเทา ความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน นับว่าเป็นงาน การกุศล และบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน จากเหตุผลข้างต้นกระทรวงอุตสาหกรรมและองค์กร STEM จึงเป็นความเห็นร่วมกัน น้ำบาดาลเป็นสิ่งที่หลายประเทศใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในภูมิประเทศแห้งแล้งหรือแม้แต่ในพื้นที่ทะเลทรายได้ผลดีมาแล้วประกอบกับ สภาพทางธรณีวิทยา ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ่งชี้ว่าอาจมีแหล่งน้ำบาดาล จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรจัดการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยน้ำบาดาลเช่นกัน จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “โครงการสำรวจน้ำบาดาล” ขึ้น โดยกรมโลหกิจ กรมชลประทาน และกรมอนามัย ร่วมกันเป็นผู้ดำเนินงานโดยองค์กร STEM ให้ความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ เครื่องมืออุปกรณ์ การฝึกอบรม และงบประมาณองค์การ STEM ได้ขอยืมตัว นายฟิลลิป อี รามอโรส์ (Phillip E. Lamoreaux) ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา น้ำบาดาล กรมธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) มาดำเนินการสำรวจร่วมกับ กรมโลหกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2497 สรุปได้ว่าสภาพธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะเป็นที่กักเก็บน้ำบาดาล ได้ดีพอสมควรและควรมีการเจาะสำรวจให้ถูกต้องโดยอาศัย ธรณีวิทยา เป็นหลัก ซึ่งการเจาะสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลในครั้งนี้ นอกจากเป็นการเสาะหาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ที่เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของโครงการแล้ว ผลพลอยได้ก็คือการทราบถึงธรณีวิทยาและทรัพยากรแร่ไปด้วย เพราะสภาพธรณีวิทยาของภูมิภาคนี้บ่งบอกว่า น่าจะมีแร่ฟอสเฟต โพแทช ยูเรเนียม ยิปซัม บ็อกไซด์ โดโลไมต์ ไดอะตอมไมต์ เกลือหิน เป็นต้น รวมทั้งยังเป็นข้อมูลและหลักฐานเพื่อไขปัญหาทางธรณีวิทยา ของภาคนี้อีกด้วย
 
โครงการสำรวจน้ำบาดาล ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำทั่วประเทศ แต่ในขั้นต้นได้มุ่งการสำรวจ และพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน เพราะเป็นภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำมากที่สุด ภายหลังจึงได้ขยายงานออกไปทั่วประเทศดังที่ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่ของภาคอื่น ๆ บางบริเวณก็มีความขาดแคลนน้ำเช่นเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม และองค์กร STEM ได้ประชุมปรึกษาหารือกันเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2497 เพื่อเริ่ม “โครงการสำรวจน้ำบาดาล” โดยการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการน้ำบาดาล” เพื่อควบคุมกำกับดูแลการสำรวจน้ำบาดาลในภา


เจาะบาดาลเชียงราย 
เจาะบาดาลเชียงใหม่ 
เจาะบาดาลน่าน 
เจาะบาดาลพะเยา 
เจาะบาดาลแพร่ 
เจาะบาดาลแม่ฮ่องสอน 
เจาะบาดาลลำปาง 
เจาะบาดาลลำพูน 
เจาะบาดาลอุตรดิตถ์
เจาะบาดาลกาฬสินธุ์ 
เจาะบาดาลขอนแก่น 
เจาะบาดาลชัยภูมิ 
เจาะบาดาลนครพนม 
เจาะบาดาลนครราชสีมา 
เจาะบาดาลบึงกาฬ 
เจาะบาดาลบุรีรัมย์ 
เจาะบาดาลมหาสารคาม 
เจาะบาดาลมุกดาหาร 
เจาะบาดาลยโสธร 
เจาะบาดาลร้อยเอ็ด 
เจาะบาดาลเลย 
เจาะบาดาลสกลนคร 
เจาะบาดาลสุรินทร์ 
เจาะบาดาลศรีสะเกษ 
เจาะบาดาลหนองคาย 
เจาะบาดาลหนองบัวลำภู 
เจาะบาดาลอุดรธานี 
เจาะบาดาลอุบลราชธานี 
เจาะบาดาลอำนาจเจริญ 
เจาะบาดาลกำแพงเพชร 
เจาะบาดาลชัยนาท 
เจาะบาดาลนครนายก 
เจาะบาดาลนครปฐม 
เจาะบาดาลนครสวรรค์ 
เจาะบาดาลนนทบุรี 
เจาะบาดาลปทุมธานี 
เจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา 
เจาะบาดาลพิจิตร 
เจาะบาดาลพิษณุโลก 
เจาะบาดาลเพชรบูรณ์ 
เจาะบาดาลลพบุรี 
เจาะบาดาลสมุทรปราการ 
เจาะบาดาลสมุทรสงคราม 
เจาะบาดาลสมุทรสาคร 
เจาะบาดาลสิงห์บุรี 
เจาะบาดาลสุโขทัย 
เจาะบาดาลสุพรรณบุรี 
เจาะบาดาลสระบุรี 
เจาะบาดาลอ่างทอง 
เจาะบาดาลอุทัยธานี 
เจาะบาดาลจันทบุรี 
เจาะบาดาลฉะเชิงเทรา 
เจาะบาดาลชลบุรี 
เจาะบาดาลตราด 
เจาะบาดาลปราจีนบุรี 
เจาะบาดาลระยอง 
เจาะบาดาลสระแก้ว 
เจาะบาดาลกาญจนบุรี 
เจาะบาดาลตาก 
เจาะบาดาลประจวบคีรีขันธ์ 
เจาะบาดาลเพชรบุรี 
เจาะบาดาลราชบุรี 
เจาะบาดาลกระบี่ 
เจาะบาดาลชุมพร 
เจาะบาดาลตรัง 
เจาะบาดาลนครศรีธรรมราช 
เจาะบาดาลนราธิวาส 
เจาะบาดาลปัตตานี 
เจาะบาดาลพังงา 
เจาะบาดาลพัทลุง 
เจาะบาดาลภูเก็ต 
เจาะบาดาลระนอง 
เจาะบาดาลสตูล 
เจาะบาดาลสงขลา 
เจาะบาดาลสุราษฎร์ธานี 
เจาะบาดาลยะลา 
เจาะบาดาลกรุงเทพมหานคร
 
เจาะบาดาลคลองสาน 
เจาะบาดาลคลองสามวา 
เจาะบาดาลคลองเตย
เจาะบาดาลคันนายาว 
เจาะบาดาลจอมทอง 
เจาะบาดาลดอนเมือง
เจาะบาดาลดินแดง 
เจาะบาดาลดุสิต 
เจาะบาดาลตลิ่งชัน 
เจาะบาดาลทวีวัฒนา
เจาะบาดาลทุ่งครุ 
เจาะบาดาลธนบุรี 
เจาะบาดาลบางกอกน้อย
เจาะบาดาลบางกอกใหญ่ 
เจาะบาดาลบางกะปิ 
เจาะบาดาลบางคอแหลม
เจาะบาดาลบางซื่อ 
เจาะบาดาลบางนา 
เจาะบาดาลบางพลัด 
เจาะบาดาลบางรัก
เจาะบาดาลบางเขน 
เจาะบาดาลบางแค 
เจาะบาดาลบึงกุ่ม 
เจาะบาดาลปทุมวัน
เจาะบาดาลประเวศ 
เจาะบาดาลป้อมปราบศัตรูพ่าย 
เจาะบาดาลพญาไท
เจาะบาดาลพระนคร 
เจาะบาดาลพระโขนง 
เจาะบาดาลภาษีเจริญ 
เจาะบาดาลมีนบุรี
เจาะบาดาลยานนาวา 
เจาะบาดาลราชเทวี 
เจาะบาดาลราษฎร์บูรณะ
เจาะบาดาลลาดกระบัง 
เจาะบาดาลลาดพร้าว 
เจาะบาดาลวังทองหลาง
เจาะบาดาลวัฒนา 
เจาะบาดาลสวนหลวง 
เจาะบาดาลสะพานสูง
เจาะบาดาลสัมพันธวงศ์ 
เจาะบาดาลสาทร 
เจาะบาดาลสายไหม
เจาะบาดาลหนองจอก 
เจาะบาดาลหนองแขม 
เจาะบาดาลหลักสี่ 
เจาะบาดาลห้วยขวาง
เจาะบาดาลเมืองนครปฐม 
เจาะบาดาลกำแพงแสน 
เจาะบาดาลดอนตูม
เจาะบาดาลนครชัยศรี 
เจาะบาดาลบางเลน 
เจาะบาดาลพุทธมณฑล 
เจาะบาดาลสามพราน
เจาะบาดาลเมืองนนทบุรี 
เจาะบาดาลบางกรวย 
เจาะบาดาลบางบัวทอง
เจาะบาดาลบางใหญ่ 
เจาะบาดาลปากเกร็ด 
เจาะบาดาลไทรน้อย
เจาะบาดาลเมืองปทุมธานี 
เจาะบาดาลคลองหลวง 
เจาะบาดาลธัญบุรี
เจาะบาดาลลาดหลุมแก้ว 
เจาะบาดาลลำลูกกา 
เจาะบาดาลสามโคก 
เจาะบาดาลหนองเสือ
เจาะบาดาลเมืองสมุทรปราการ 
เจาะบาดาลบางพลี 
เจาะบาดาลบางเสาธง
เจาะบาดาลพระประแดง
 เจาะบาดาลพระสมุทรเจดีย์
เจาะบาดาลเมืองระยอง
เจาะบาดาลนิคมพัฒนา 
เจาะบาดาลเขาชะเมา
เจาะบาดาลบ้านฉาง 
เจาะบาดาลปลวกแดง 
เจาะบาดาลวังจันทร์ 
เจาะบาดาลแกลง
เจาะบาดาลเมืองชลบุรี 
เจาะบาดาลเกาะจันทร์ 
เจาะบาดาลบางละมุง
เจาะบาดาลบ่อทอง  
เจาะบาดาลบ้านบึง 
เจาะบาดาลพนัสนิคม
เจาะบาดาลพานทอง
เจาะบาดาลศรีราชา 
เจาะบาดาลสัตหีบ 
เจาะบาดาลหนองใหญ่ 
เจาะบาดาลเกาะสีชัง
เจาะบาดาลเมืองสมุทรสาคร 
เจาะบาดาลกระทุ่มแบน 
เจาะบาดาลบ้านแพ้ว 
เจาะบาดาลมหาชัย
เจาะบาดาลเมืองสมุทร
เจาะบาดาลอัมพวา 
เจาะบาดาลบางคนที
เจาะบาดาลเมืองราชบุรี 
เจาะบาดาลบ้านคา 
เจาะบาดาลจอมบึง
เจาะบาดาลดำเนินสะดวก 
เจาะบาดาลบางแพ 
เจาะบาดาลบ้านโป่ง
เจาะบาดาลปากท่อ
เจาะบาดาลวัดเพลง 
เจาะบาดาลสวนผึ้ง 
เจาะบาดาลโพธาราม
เจาะบาดาลเมืองฉะเชิงเทรา 
เจาะบาดาลคลองเขื่อน 
เจาะบาดาลท่าตะเกียบ 
เจาะบาดาลบางคล้า
เจาะบาดาลบางน้ำเปรี้ยว 
เจาะบาดาลบางปะกง 
เจาะบาดาลบ้านโพธิ์
เจาะบาดาลพนมสารคาม
เจาะบาดาลราชสาส์น 
เจาะบาดาลสนามชัยเขต 
เจาะบาดาลแปลงยาว
เจาะบาดาลเมืองนครนายก 
เจาะบาดาลปากพลี 
เจาะบาดาลบ้านนา 
เจาะบาดาลองครักษ์
 
Engine by shopup.com