วิธีใช้งานชุดปะยางฉุกเฉินที่แถมมากับรถ และข้อดีข้อเสียที่คุณต้องรู้
14 มกราคม 2565
ผู้ชม 145 ผู้ชม
ร้านปะยางใกล้ฉัน รับปะยาง 24 ชั่วโมง รับ ปะยาง เปลี่ยนยางรถยนต์ นอกสถานที่ ศูนย์กลาง call center 24 ชั่วโมง หากเกิดเหตุ รถยางรั่ว ยางแตก
ต้องการหาร้านรับปะยาง เปลี่ยนยางรถยนต์ นอกสถานที่ ที่อยู่ใกล้ที่สุด
ปะยางนอกสถานที่
ร้านปะยางรถยนต์ 24 ชมใกล้ฉัน
ปะยางนอกสถานที่ใกล้ฉัน
ร้านปะยาง
ร้านปะยางใกล้ฉัน
ร้านปะยางรถยนต์ใกล้ฉัน
ช่างปะยางรถยนต์นอกสถานที่
ติดต่อสายด่วน
วิธีใช้งานชุดปะยางฉุกเฉินที่แถมมากับรถ และข้อดีข้อเสียที่คุณต้องรู้
ปัจจุบันชุดปะยางฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์ที่ค่ายรถหลาย ๆ ค่ายได้นำมาทดแทนยางอะไหล่แล้วในรถยนต์หลาย ๆ รุ่นโดยเฉพาะรถยนต์ในกลุ่มอีโคคาร์ อย่าง Toyota Yaris Ativ ของค่าย Toyota หรือ Nissan Almera จาก Nissan โดยแนวคิดนี้มาจากความพยายามที่จะลดน้ำหนักของรถยนต์ลงเพื่อให้ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น ตอบโจทย์ความเป็นอีโคคาร์ ประกอบกับเทคโนโลยีในปัจจุบันที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถมากขี้น ทำให้งานปะยางในเหตุการณ์ฉุกเฉินเป็นงานที่ง่ายดายมากเมื่อเทียบกับในยุคก่อน ๆ
เรามาทำความรู้จักกับ ชุดปะยางฉุกเฉิน ที่ติดมากับรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ กันว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และจะสามารถทำหน้าที่ได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่ายางอะไหล่แค่ไหน
ชุดปะยางฉุกเฉินคืออะไร
ชุดปะยางฉุกเฉิน คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับซ่อมยางรถยนต์เป็นการเบื้องต้น ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น ตะปูตำยางจนทำให้เกิดการรั่วซึมของลมยาง โดยเน้นไปที่งานซ่อมแซมส่วนของหน้ายางที่สัมผัสกับผิวถนนเป็นหลัก เพื่อให้รถสามารถแล่นต่อไปยังร้านปะยางซึ่งมีอุปกรณ์มาตรฐาน และช่างผู้ชำนาญการ ที่จะจัดการปะซ่อมยางรถยนต์ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมอีกครั้ง
ทั้งนี้ชุดปะยางฉุกเฉินยังมีแบบที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์แบบที่ใช้วิธีที่เรียกว่าแทงหนอน หรือแทงยาง ซึ่งอาจจะใช้งานยากกว่าชุดปะยางฉุกเฉินแบบใช้ปั๊มลมไฟฟ้ากับน้ำยาปะยางที่แถมมากับรถยนต์รุ่นต่าง ๆ
วิธีการใช้งานชุดปะยางฉุกเฉินที่แถมมากับรถ
อุปกรณ์หลักของชุดปะยางฉุกเฉินมีเพียง 2 ชิ้นเท่านั้น ประกอบด้วย ปั๊มลมไฟฟ้า กับ น้ำยาปะยาง วิธีใช้งานก็ง่าย เพียงแค่ประกอบกระปุกน้ำยาเข้ากับปั๊มลมไฟฟ้า แล้วนำไปต่อกับจุ๊บลมของยางที่รั่วซึม จากนั้นก็ต่อสายไฟของเครื่องปั๊มลมไฟฟ้าเข้ากับช่องจุดบุหรี่ในรถแล้วก็เปิดสวิทช์ เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ
หลักการทำงานของชุดปะยางฉุกเฉินเครื่องการเป่าน้ำยาให้เข้าไปเคลือบด้านในของยาง โดยตัวน้ำยาจะมีความหนืดและแข็งตัวเพื่ออุดรูรั่วบริเวณหน้ายางด้านใน อาศัยแรงเหวี่ยงในขณะขับรถเพื่อเกลี่ยน้ำยาให้ไหลไปทั่วผิวยาง นั่นหมายความว่าน้ำยาไม่ได้เข้าไปอุดรูรั่ว แต่เข้าไปเคลือบผิวยางด้านในไว้ทั้งหมด
ข้อดีข้อเสียและข้อควรระวัง
- ข้อดีคือใช้งานง่ายมาก ใช้เวลาซ่อมแซมนิดเดียว และที่สำคัญไม่เหนื่อยไม่ต้องออกแรงเหมือนเปลี่ยนยางอะไหล่แน่นอน ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ใช้รถคนเดียวก็สามารถทำได้ง่าย ส่วนข้อเสียคือไม่สามารถซ่อมแซมรูรั่วที่เกิดขึ้นที่แก้มยางได้ ส่วนในกรณียางระเบิดนั่น ถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง ซ่อมเองไม่ได้แน่นอน ต้องเปลี่ยนยางใหม่อย่างเดียว
- ข้อควรระวังในการขับขี่หลังจากที่ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้วคือ ไม่ควรขับเร็วเกิน 80 กม./ชม. และระยะทางไม่เกิน 80 กม. ควรรีบเข้าศูนย์หรืออู่รถยนต์เพื่อตรวจสอบยางทันที
อย่างไรก็ดี ในกลุ่มผู้ใช้รถก็ยังถกเถียงกันว่า ค่ายรถควรให้ยางอะไหล่มากับรถเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะในการขับขี่ในระยะทางไกลเช่นการออกทริปต่างจังหวัด หากเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ชุดปะยางฉุกเฉินก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก ในขณะเดียวกัน บางคนขับรถอยู่แต่ในเมือง ขับมาเกือบสิบปีไม่เคยเปิดยางอะไหล่มาใช้เลยก็มี
ตัวอย่างรถยนต์รุ่นที่มีชุดปะยางฉุกเฉินแทนยางอะไหล่
- Toyota Yaris Ativ GT
- Toyota Yaris Cross
- Toyota C-HR Irresistible
- Toyota GR Supra
- Honda All New Accord
- Nissan New Almera รุ่น V และ VL
รุ่นที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้จะระบุไว้ชัดเจนที่สเปครถ ส่วนรุ่นที่ในสเปคไม่ได้ระบุไว้ว่าใช้ยางอะไหล่หรือชุดปะยางฉุกเฉินในสเปครถอาจต้องสอบถามที่ตัวแทนเพิ่มเติม อนึ่ง หากเราต้องการยางอะไหล่จริงๆ ในรุ่นที่ไม่มีมาให้ตั้งแต่แรก ก็สามารถซื้อเพิ่มและติดตั้งได้ เพราะตัวถังรถส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้มีช่องเก็บยางอะไหล่อยู่แล้ว