18978819

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

หมวดหมู่สินค้า: A122 รับจัดบายศรี

13 มกราคม 2565

ผู้ชม 146 ผู้ชม


รับจัดพานบายศรี

รับจัดบายศรี
รับจัดบายศรีเทพ
รับจัดงานแต่งที่บ้าน
รับจัดบายศรีงานแต่ง
พิธีบายศรีสู่ขวัญงานแต่งงาน
งานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง
ผลงานของเรา

                     ติดต่อช่างทำบายศรี



ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

 
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) 
          พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัด พิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า "เมียขวัญ" หรือ "จอมขวัญ" เรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่า "ลูกขวัญ" สิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า "ของขวัญ" "ขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป พาขวัญหรือพานบายศรี คำว่า "บายศรี" นี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้ การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , ๓, ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัด..พเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ - ๔ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า "ฮดฟาย"
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) 
          การสวดหรือการสูตรขวัญ เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า "พราหมณ์" หรือ"พ่อพราหมณ์" ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่ ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม "ด้ายผูกแขนพราหมณ์" ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้ พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็น ไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุข ความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า "สัค เค กา เม จ รูเป" … จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อ สวดเสร็จ จะว่า " สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ " ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าว เจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้า สาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
          การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมือง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็น ไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็ จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็น พิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวด และผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ
 
สถานปฏิบัติธรรม สวนพุทธมงคลหทัยนเรศวร์ ฯ มีการจัดปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญและบวงสรวงสังเวยเต็มรูปแบบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2544 บายศรีต้องงดงาม ยิ่งใหญ่เป็นหลักสำคัญของพิธีกรรมทุกครั้งและต้องใช้ทุนทรัพย์อย่างมากทีเดียว ญาติธรรมที่เข้าร่วมพิธี รวมถึงผู้เข้าเยี่ยมชมเวปไซท์ จำนวนมากขึ้นๆ เราจึงเก็บรวบรวมเกร็ดความรู้เรื่องบายศรีตามวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวไทยสืบทอดกันมาแบ่งปันความรู้ ซึ่งยังต้องหาภาพมาเพิ่มเติมต่อไป ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทุกแห่งที่รวบรวมไว้เผยแพร่เป็นวิทยาทาน เราเองก็ได้ศึกษาได้ด้วย บายศรีแต่ละประเภทมีหลายรูปแบบซึ่งต้องใช้ใบตองกล้วยตานี เป็นหลัก ซึ่งวัฒธรรมท้องถิ่นและความศรัทธาของบุคคลอาจดลบันดาลใจให้รูปแบบที่งดงามแตกต่างกัน เช่น บายศรีปากชาม ก็มีหลายแบบ บายศรีเทพ บายศรีพรหม บายศรีหลัก บายศรีตอ บายศรีบัลลังก์นาคราช บายศรีบารมี พานพุ่ม พานธูปเทียนแพ พานขมา พานขันธ์5/พานครู ฯลฯ ก็จะเสาะหารูปมาแบ่งปันต่อไป..
               ในพิธีการ งานมงคลของชาวไทย จะนำบายศรีมานำหน้าพิธีการงานต่างๆ บ้านใครมีงานพิธีอะไร เช่น มงคลสมรส อุปสมบท โกนจุก งานบุญ งานไหว้ครู ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเพียงตา พิธีอันเชิญเทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์งานหล่อพระ งานชักพระ งานสำคัญพิธีกรรมบรวงสรวง
บายศรีเป็นของสูง สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับชาวไทยตั่งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
          บายศรี หมายถึง เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง  รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ
เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียอยู่บนยอดบายศรี 
มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ ( ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ )
ประวัติ
บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อ  ของพราหมณ์ พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี
เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่า  ให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรี  ที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร  ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์
เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิมและพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น
 
ประเภทของบายศรี
 
      ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า " ใบสี " , " ใบสรี " หรือ " ใบสีนมแมว " และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.บายศรีหลวง 
2.บายศรีนมแมว 
3.บายศรีปากชาม 
4.บายศรีกล้วย 
       ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า " พาบายศรี " " พาขวัญ " หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า " ขันบายศรี " ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.พาขวัญ 
2.พาบายศรี 
3. หมากเบ็ง 
          ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า " บายแสร็ย " ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือบายแสร็ยเดิม ( บายศรีต้น ) บายแสร็ยเถียะ ( บายศรีถาด ) บายแสร็ตจาน ( บายศรีปากชาม ) 
       ชื่อบายศรี ได้แก่ 1.บายศรีบงกช  2.บายศรีพานพุ่ม 3.บายศรีผูกข้อมือ
บายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีแต่งงาน งานบวช สืบชะตา หรือให้เป็นของขวัญของที่ระลึก 
4.บายศรีเทพหงส์ ริบบิ้นเงิน-ทอง 5.บายศรีผูกข้อมือ บายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีมงคลของชาวล้านนา
6.บายศรีเทพ  7.บายศรีพานพุ่ม 8.บายศรีเทพหงส์  9.บายศรีเทพ   10.บายศรีเทพพรหม 11.บายศรีธรรมจักร 12.บายศรีปากชาม
 
      บายศรี ความหมาย ของ คำว่า “ บายศรี “
       บายศรีนั้นเป็นคำภาษาเขมร “บาย” หมายถึงข้าว “ศรี” คือสิริมงคล  รวมความแล้วหมายถึง ข้าวอันเป็นมงคล 
บางครั้งก็เรียกกันว่า “ข้าวขวัญ” ด้วย ... ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ใช้เรียกภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธีทำขวัญ 
... ตามคติความเชื่อสืบเชื้อแต่โบราณกาล การตั้งเครื่องสังเวยบูชาด้วยบายศรี เพื่ออัญเชิญปฐมบรมครูคือ
พระพุทธเจ้าบรมศาสดา บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดจน ท้าวมหาพรหม มหาเทพทั้งหลาย อีกทั้งเทพแห่งศิลปศาสตร์ 
อาทิ พระตรีมูรติ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆคเณศวร พระแม่อุมา ปาวารตี พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พ่อแก่ (ปู่ฤษี) 
พระประคนธรรพ์ ปัญจสิงขร พระพิภพ และวิษณุกรรม มาประสาทพรประสิทธิ์ชัย ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
*ประเภทของบายศรี บายศรีมีหลายประเภทแยกตามการใช้งานดังนี้ 
๑. บายศรีราษฎร์ ได้แก่
- บายศรีปากชาม เป็นบายศรีขนาดเล็กสุด บรรจุในชามขนาดพอเหมาะ (ชามข้าวต้ม ไม่ใช่ชามโฟม อย่างปัจจุบัน) ใช้สำหรับบวงสรวงบูชา ครู เทพยดา ทั่วไป
- บายศรีใหญ่ หรือ บายศรีสู่ขวัญ หรือ บายศรีเชิญขวัญ บางที่เรียก บายศรี รับขวัญ เป็นบายศรีขนาดใหญ่ 
จัดใส่ พาน โตก ตะลุ่ม จะทำหลายชั้นซ้อนกันก็ได้ตามขนาดของพิธี
 
๒. บายศรีพิธีหลวง พระราชประเพณีนิยม ประกอบด้วยบายศรี ๓ ชนิดดังนี้
- บายศรีสำรับเล็ก ประกอบด้วย บายศรีทำจากผ้าตาดเงินมี ๓ ชั้น บนพานแก้ว เรียกว่า “บายศรีแก้ว” ถ้าผ้าตาดทองเรียก “บายศรีทอง” ถ้าผ้าตาดเขียวเรียก “บายศรีเงิน” จัดวางโดยบายศรีทองอยู่ขวา 
บายศรีเงินอยู่ซ้ายและบายศรีแก้วอยู่ตรงกลาง 
- บายศรีสำรับใหญ่ เหมือนบายศรีสำรับเล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่า สำหรับพิธีทำขวัญสมโภชงานสำคัญ โดยจัดแต่ละชุดมี ๕ ชั้น 
- บายศรีตองรองทองขาว ก็คือบายศรีใหญ่ ใช้แป้นและแกนเป็นทองขาวแทนไม้ทั่วไป
*** นอกจากนี้ ยังมี บายศรีชั้นหรือบายศรีต้น มีหลายขนาดตามบรรดาศักดิ์คือ
- ๙ ชั้น สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
- ๗ ชั้น สำหรับ เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี 
- ๕ ชั้น สำหรับ เจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี
- ๓ ชั้น ใช้ในพิธีสมรสชั้นหลานของเจ้านายฝ่ายเหนือ
- ส่วนประกอบสำคัญในพิธีต้องมีบายศรี ปากชาม ข้าวปากหม้อ บรรจุกรวยตองเป็นยอดบายศรี ไข่ต้มสุก (แข็งๆ) เสียบยอด 
ดอกไม้มงคล สดประดับให้สวยงาม ตามด้วย ธูป เทียน สำหรับบูชา
- โอกาสที่จะใช้บายศรี พิธีที่จะใช้บายศรีนั้น ได้แก่ งานมงคลทั่วไป
ทั้ง งานแต่งงาน งานบวช รับขวัญ ส่งขวัญต่างๆ ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ขอขมาต่อ เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณ
- คติธรรม ที่ได้จากบายศรี
       ปกติการทำบายศรี จะต้องทำจากใบตองตานี อาศัยความประณีต อดทนยิ่งยวดผสมกับศาสตร์ และศิลป์ในตัว
ผู้ทำบายศรีต้องไม่กล่าวคำหยาบ (ถ้าเป็นบายศรีที่ใช้ในพิธีกรรมทางพราหมณ์ ผู้ทำบายศรี ต้องถือศีล 8 จึงจะทำให้บายศรีนั้นๆ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง) มีความหมายทางธรรมะว่า การทำความดีนั้นทำได้ยาก ต้องอดทน รักดี ใฝ่ดี ต้องมีสติ มีสมาธิ เมื่อเราเตรียมตอง ฉีดตอง เช็ดตอง ม้วนนิ้วบายศรี ประกอบตัวบายศรี และแม้แต่การแต่งบายศรีด้วยดอกไม้มงคลนาม
ต้องทำอย่างใจเย็น เบามือ ตองจะได้ไม่แตกจนเสียงาน นั่นคือการฝึกสมาธิ ต้องมีสติ และ สามัคคี ตลอดเวลาจึงจะสำเร็จ จะเห็นได้ว่า บายศรี แท้จริงคือ อุบายสั่งสอนลูกหลาน ปลูกฝัง ธรรมะ ทั้งความอ่อนน้อมความจงรักภักดี ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ฯลฯ 
ซึ่งเราควรชื่นชมในภูมิปัญญาบรรพชนไทย ของเรา 
.... จุดประสงค์หลักของการทำขวัญ ก็เพื่ออำนวยชัยให้พร ให้ ประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง มีความสุข และ กำลังใจที่ดี
เพื่อต่อสู้กับชีวิตต่อไป หากใครจะถามว่า เราใช้บายศรีเมื่อไร?  งานใดบ้าง? ก็คงต้องบอกว่า ใช้ในงานพิธีมงคลของคนไทยโดยทั่วไปนั้น  นอกจากทำขวัญเด็กแรกเกิด แล้วยังปัดเป่าเสนียดจัญไรต่าง ๆ  ไม่ให้แผ้วพาน นอกนั้นยังมีอีกหลายโอกาสที่ต้องใช้บายศรี ดังนี้
 
- พิธีทำขวัญเดือน , พิธีทำขวัญตัดจุกหรือโกนจุก ,พิธีทำขวัญบวชเณร และ บวชนาค , แต่งงาน (เราเรียกพิธีนี้ว่า ทำขวัญบ่าวสาว รดน้ำสังข์ นั่น  เอง) , การสู่ขวัญ รับขวัญ ผู้ที่มารับตำแหน่งใหม่ การเลื่อนยศ  การจบการศึกษา การกลับมาจากสงคราม , เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ  ต้องทำพิธีเชิญขวัญจากที่เกิดเหตุใส่ภาชนะกลับมาบรรจุลงในชามบายศรี ก่อนเริ่มพิธีด้วยเมื่อหายป่วยก็ทำขวัญให้อีกครั้ง เพื่อให้ญาติพี่น้องมาแสดง  ความยินดีกับผู้หายป่วย , ขึ้นบ้านใหม่เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข  โดยมีบายศรีสังเวยผีบ้าน ผีเรือน กับพระภูมิเจ้าที่ , เมื่อข้าวเริ่มออกรวง  มีพิธีบายศรีสังเวยทำนา บูชาแม่โพสพให้บำรุงรักษาต้นข้าว บูชาพระพิรุณ
ให้บันดาลฝนตกพอเพียงแก่การทำนา มีน้ำท่าบริบูรณ์ตลอดฤดูกาล , ทำขวัญข้าว เราจะทำเมื่อเก็บเกี่ยวเต็มยุ้งฉางแล้ว สำหรับเชิญขวัญแม่  โพสพให้มาอยู่ในยุ้งฉาง ยามขายก็ให้ได้ราคา  ประกอบด้วยบายศรีต้น ๕ ชั้น พร้อมเครื่องสังเวยถือว่า
เป็นงานใหญ่เพราะอัญเชิญเทพยาดาทุกชั้นฟ้ามาร่วมพิธี , -- ในการตั้งศาลภูมิ หรือสังเวยประจำปีต้องตั้งบายศรีประกอบด้วย
ทุกครั้ง พิธีวางศิลาฤกษ์ หรือยกเสาเอกของบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นั้น ต้องทำพิธีเซ่น เจ้ากรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ แม่พระธรณี เทวดาอารักษ์ทั้งหลายก่อนยกเสาลงหลุม ทำบัตรพลีบูชา ตั้งบายศรีสังเวย และ ขอขมา ตลอดจนเจ้าที่เจ้าทาง นางไม้
ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเสาอันเคยเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ในป่ามาก่อน ขอให้งานดำเนินไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรค์ใด ๆ
 
       พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร ฟ้อนรำประจำปี หรือแม้แต่ก่อนแสดง ครั้งสำคัญ ๆ ต้องมีการตั้งเครื่องสังเวยบูชาด้วยบายศรีทุกครั้ง
เพื่ออัญเชิญปฐมบรมครู คือ สมเด็จพระบรมศาสดา บิดา มารดา  ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ ที่ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาให้หาเลี้ยงตน 
ตลอดจนท่านท้าวมหาพรหม มหาเทพทั้งหลาย อีกทั้งเทพแห่งศิลปะ  ศาสตร์ อาทิ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร พ่อแก่ พระ
ประคนธรรพ์ พระปัญจสิงขร พระพิราพ และพระวิษณุกรรม  มาอวยชัยให้พร มักใช้บายศรีปากชาม ๗-๙ ชั้น จำนวน ๓ คู่ พร้อมเครื่องสังเวย ๓ สำรับ 
 
-- บางครั้งเมื่อได้รับโชคลาภสิ่งของอันเป็นมิ่งมงคล  หรือก่อนลงมือทำงานอันสำคัญ เราอาจหาฤกษ์งามยามดี 
ตั้งพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดา เพื่อขอความเมตตาในบางสิ่งบ่างอย่าง   หรือแสดงความขอบคุณในกรณีที่ได้ลาภ ได้ยศประกอบด้วย
- บายศรีปากชาม ๙ ชั้น ๑ คู่ 
- บายศรีใหญ่ ๙ หรือ ๑๖ ชั้น 
สำหรับเทพพรหมอันสูงศักดิ์ ๑ คู่ 
- พิธีเช่นนี้ ทำเพื่อบอกกล่าวขอขมาลาโทษ เนื่องจากอาจกระทำ  สิ่งใดผิดพลาดไปทั้งที่รู้และไม่รู้ต่อพระพุทธเจ้า ตลอดจนบิดามารดา   กับผู้มีพระคุณทั้งหลาย ครู อาจารย์ ด้วยเหมือนเป็นการสารภาพบาป   
-- ต่อไปก็เป็นพิธีเชิญทำขวัญช้างคนโบราณก่อนเข้าป่าคล้องช้าง  ต้องทำพิธีเซ่นสังเวยเทวดา ผีบ้านผีเรือนเพื่อเอาฤกษ์ บำรุงขวัญ ครั้นจะลงมือคล้องช้างก็เซ่นสรวงผีป่า เทวาอารักษ์ให้คล้องช้างโดยปลอดภัย เมื่อถึงบ้าน ก็ทำขวัญให้เลี้ยงเชื่อง 
จงรักภักดีต่อตนเองและควาญช้าง 
-- ชาวอีสาน เมื่อได้พระพุทธรูปมาใหม่ หรือ ใครนำพระพุทธรูปไปถวาย  จะช่วยกันทำบายศรีใหญ่ใส่ขันโตกทองเหลือง หรือโตกสาน โตกไม้สูงใหญ่หลายชั้น เพื่อทำขวัญเนื่องในงานฉลองพระพุทธรูปและขอพรพระพุทธานุภาพ และเทพยดาที่ประจำพระพุทธรูปองค์นั้น ขอให้คุ้มครองพวกตนให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป ส่วนคณะผู้นำพระมาถวายนั้น ขอให้เดินทางสวัสดีมีโชคชัยอย่างนี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า พิธีกรรมบางอย่าง มีไว้เพื่อจุดประสงค์ เป็นอุบายในการสั่งสอนลูกหลานผ่านพิธีกรรม เพื่อให้มี ธรรมะ มีสติ มีความอดทน ความศรัทธา ความสามัคคี  เป็นการปลูกฝังคุณธรรมหลายอย่าง ทั้งความกตัญญูความอ่อนน้อมถ่อมตน ความจงรักภักดี ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่แห่งตน การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคี ฯลฯ จึงไม่ควรมองข้าม ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยไป หรือเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย



รับจัดบายศรีเชียงราย 

รับจัดบายศรีเชียงใหม่ 
รับจัดบายศรีน่าน 
รับจัดบายศรีพะเยา 
รับจัดบายศรีแพร่ 
รับจัดบายศรีแม่ฮ่องสอน 
รับจัดบายศรีลำปาง 
รับจัดบายศรีลำพูน 
รับจัดบายศรีอุตรดิตถ์
รับจัดบายศรีกาฬสินธุ์ 
รับจัดบายศรีขอนแก่น 
รับจัดบายศรีชัยภูมิ 
รับจัดบายศรีนครพนม 
รับจัดบายศรีนครราชสีมา 
รับจัดบายศรีบึงกาฬ 
รับจัดบายศรีบุรีรัมย์ 
รับจัดบายศรีมหาสารคาม 
รับจัดบายศรีมุกดาหาร 
รับจัดบายศรียโสธร 
รับจัดบายศรีร้อยเอ็ด 
รับจัดบายศรีเลย 
รับจัดบายศรีสกลนคร 
รับจัดบายศรีสุรินทร์ 
รับจัดบายศรีศรีสะเกษ 
รับจัดบายศรีหนองคาย 
รับจัดบายศรีหนองบัวลำภู 
รับจัดบายศรีอุดรธานี 
รับจัดบายศรีอุบลราชธานี 
รับจัดบายศรีอำนาจเจริญ 
รับจัดบายศรีกำแพงเพชร 
รับจัดบายศรีชัยนาท 
รับจัดบายศรีนครนายก 
รับจัดบายศรีนครปฐม 
รับจัดบายศรีนครสวรรค์ 
รับจัดบายศรีนนทบุรี 
รับจัดบายศรีปทุมธานี 
รับจัดบายศรีพระนครศรีอยุธยา 
รับจัดบายศรีพิจิตร 
รับจัดบายศรีพิษณุโลก 
รับจัดบายศรีเพชรบูรณ์ 
รับจัดบายศรีลพบุรี 
รับจัดบายศรีสมุทรปราการ 
รับจัดบายศรีสมุทรสงคราม 
รับจัดบายศรีสมุทรสาคร 
รับจัดบายศรีสิงห์บุรี 
รับจัดบายศรีสุโขทัย 
รับจัดบายศรีสุพรรณบุรี 
รับจัดบายศรีสระบุรี 
รับจัดบายศรีอ่างทอง 
รับจัดบายศรีอุทัยธานี 
รับจัดบายศรีจันทบุรี 
รับจัดบายศรีฉะเชิงเทรา 
รับจัดบายศรีชลบุรี 
รับจัดบายศรีตราด 
รับจัดบายศรีปราจีนบุรี 
รับจัดบายศรีระยอง 
รับจัดบายศรีสระแก้ว 
รับจัดบายศรีกาญจนบุรี 
รับจัดบายศรีตาก 
รับจัดบายศรีประจวบคีรีขันธ์ 
รับจัดบายศรีเพชรบุรี 
รับจัดบายศรีราชบุรี 
รับจัดบายศรีกระบี่ 
รับจัดบายศรีชุมพร 
รับจัดบายศรีตรัง 
รับจัดบายศรีนครศรีธรรมราช 
รับจัดบายศรีนราธิวาส 
รับจัดบายศรีปัตตานี 
รับจัดบายศรีพังงา 
รับจัดบายศรีพัทลุง 
รับจัดบายศรีภูเก็ต 
รับจัดบายศรีระนอง 
รับจัดบายศรีสตูล 
รับจัดบายศรีสงขลา 
รับจัดบายศรีสุราษฎร์ธานี 
รับจัดบายศรียะลา 
รับจัดบายศรีกรุงเทพมหานคร
 
รับจัดบายศรีคลองสาน 
รับจัดบายศรีคลองสามวา 
รับจัดบายศรีคลองเตย
รับจัดบายศรีคันนายาว 
รับจัดบายศรีจอมทอง 
รับจัดบายศรีดอนเมือง
รับจัดบายศรีดินแดง 
รับจัดบายศรีดุสิต 
รับจัดบายศรีตลิ่งชัน 
รับจัดบายศรีทวีวัฒนา
รับจัดบายศรีทุ่งครุ 
รับจัดบายศรีธนบุรี 
รับจัดบายศรีบางกอกน้อย
รับจัดบายศรีบางกอกใหญ่ 
รับจัดบายศรีบางกะปิ 
รับจัดบายศรีบางคอแหลม
รับจัดบายศรีบางซื่อ 
รับจัดบายศรีบางนา 
รับจัดบายศรีบางพลัด 
รับจัดบายศรีบางรัก
รับจัดบายศรีบางเขน 
รับจัดบายศรีบางแค 
รับจัดบายศรีบึงกุ่ม 
รับจัดบายศรีปทุมวัน
รับจัดบายศรีประเวศ 
รับจัดบายศรีป้อมปราบศัตรูพ่าย 
รับจัดบายศรีพญาไท
รับจัดบายศรีพระนคร 
รับจัดบายศรีพระโขนง 
รับจัดบายศรีภาษีเจริญ 
รับจัดบายศรีมีนบุรี
รับจัดบายศรียานนาวา 
รับจัดบายศรีราชเทวี 
รับจัดบายศรีราษฎร์บูรณะ
รับจัดบายศรีลาดกระบัง 
รับจัดบายศรีลาดพร้าว 
รับจัดบายศรีวังทองหลาง
รับจัดบายศรีวัฒนา 
รับจัดบายศรีสวนหลวง 
รับจัดบายศรีสะพานสูง
รับจัดบายศรีสัมพันธวงศ์ 
รับจัดบายศรีสาทร 
รับจัดบายศรีสายไหม
รับจัดบายศรีหนองจอก 
รับจัดบายศรีหนองแขม 
รับจัดบายศรีหลักสี่ 
รับจัดบายศรีห้วยขวาง
รับจัดบายศรีเมืองนครปฐม 
รับจัดบายศรีกำแพงแสน 
รับจัดบายศรีดอนตูม
รับจัดบายศรีนครชัยศรี 
รับจัดบายศรีบางเลน 
รับจัดบายศรีพุทธมณฑล 
รับจัดบายศรีสามพราน
รับจัดบายศรีเมืองนนทบุรี 
รับจัดบายศรีบางกรวย 
รับจัดบายศรีบางบัวทอง
รับจัดบายศรีบางใหญ่ 
รับจัดบายศรีปากเกร็ด 
รับจัดบายศรีไทรน้อย
รับจัดบายศรีเมืองปทุมธานี 
รับจัดบายศรีคลองหลวง 
รับจัดบายศรีธัญบุรี
รับจัดบายศรีลาดหลุมแก้ว 
รับจัดบายศรีลำลูกกา 
รับจัดบายศรีสามโคก 
รับจัดบายศรีหนองเสือ
รับจัดบายศรีเมืองสมุทรปราการ 
รับจัดบายศรีบางพลี 
รับจัดบายศรีบางเสาธง
รับจัดบายศรีพระประแดง
 รับจัดบายศรีพระสมุทรเจดีย์
รับจัดบายศรีเมืองระยอง
รับจัดบายศรีนิคมพัฒนา 
รับจัดบายศรีเขาชะเมา
รับจัดบายศรีบ้านฉาง 
รับจัดบายศรีปลวกแดง 
รับจัดบายศรีวังจันทร์ 
รับจัดบายศรีแกลง
รับจัดบายศรีเมืองชลบุรี 
รับจัดบายศรีเกาะจันทร์ 
รับจัดบายศรีบางละมุง
รับจัดบายศรีบ่อทอง  
รับจัดบายศรีบ้านบึง 
รับจัดบายศรีพนัสนิคม
รับจัดบายศรีพานทอง
รับจัดบายศรีศรีราชา 
รับจัดบายศรีสัตหีบ 
รับจัดบายศรีหนองใหญ่ 
รับจัดบายศรีเกาะสีชัง
รับจัดบายศรีเมืองสมุทรสาคร 
รับจัดบายศรีกระทุ่มแบน 
รับจัดบายศรีบ้านแพ้ว 
รับจัดบายศรีมหาชัย
รับจัดบายศรีเมืองสมุทร
รับจัดบายศรีอัมพวา 
รับจัดบายศรีบางคนที
รับจัดบายศรีเมืองราชบุรี 
รับจัดบายศรีบ้านคา 
รับจัดบายศรีจอมบึง
รับจัดบายศรีดำเนินสะดวก 
รับจัดบายศรีบางแพ 
รับจัดบายศรีบ้านโป่ง
รับจัดบายศรีปากท่อ
รับจัดบายศรีวัดเพลง 
รับจัดบายศรีสวนผึ้ง 
รับจัดบายศรีโพธาราม
รับจัดบายศรีเมืองฉะเชิงเทรา 
รับจัดบายศรีคลองเขื่อน 
รับจัดบายศรีท่าตะเกียบ 
รับจัดบายศรีบางคล้า
รับจัดบายศรีบางน้ำเปรี้ยว 
รับจัดบายศรีบางปะกง 
รับจัดบายศรีบ้านโพธิ์
รับจัดบายศรีพนมสารคาม
รับจัดบายศรีราชสาส์น 
รับจัดบายศรีสนามชัยเขต 
รับจัดบายศรีแปลงยาว
รับจัดบายศรีเมืองนครนายก 
รับจัดบายศรีปากพลี 
รับจัดบายศรีบ้านนา 
รับจัดบายศรีองครักษ์
 
Engine by shopup.com