19316967

ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา

หมวดหมู่สินค้า: A114 ประตูบานเลื่อน

13 มกราคม 2565

ผู้ชม 149 ผู้ชม

งานซ่อมประตูบานเลื่อน – ช่างซ่อมบ้าน ซ่อมมอเตอร์รีโมท ซ่อมประตูม้วน ซ่อมประตูรั้วเหล็ก ออกแบบ ติดตั้ง ประตูรั้วสแตนเลส ประตูเลื่อน ประตูม้วน ประตูรีโมท ประตูเหล็ก ซ่อมหลังคา ประเมินหน้างานฟรี 
รับซ่อมติดตั้งประตูบานเลื่อน
รับซ่อมติดตั้งประตูรั้วบ้าน
รับซ่อมติดตั้งประตูรีโมท
รับซ่อมติดตั้งประตูม้วน
ช่างซ่อมประตูรีโมท
ช่างซ่อมประตูรั้วรีโมท
ช่างซ่อมประตูรั้วบ้าน
ช่างซ่อมประตูหน้าต่าง
ช่างซ่อมประตูไฟฟ้า
ช่างซ่อมประตูบานเลื่อน
ผลงานติดตั้งประตูบานเลื่อน

        ติดต่อสอบถาม








” ประตู หน้าต่าง ” เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา
 
คราวก่อนเราได้พาทุกคนไป “ รู้จักกับวัสดุภายในครัว “ กันแล้วนะคะ วันนี้เราจะพามาเลือกใช้ประตู หน้าต่างกันบ้าง ซึ่งประตูและหน้าต่างนั้น จัดเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของบ้านเลยนะคะ เป็นส่วนที่สะท้อนหน้าตาของตัวบ้านได้พอสมควรเลย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เราสามารถมองเห็นได้จากทั้งด้านนอกบ้านและจากภายในบ้าน และการเลือกใช้ที่เหมาะสมนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งานแต่ละส่วน ประตูจัดเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับทางเข้า-ออก จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งได้ ส่วนหน้าต่างมีไว้เพื่อรับแสงธรรมชาติ เปิดรับลม และช่วยระบายให้อากาศถ่ายเทและหมุนเวียนได้สะดวก และยังใช้เป็นช่องเปิดมุมมองออกไปโดยรอบตัวบ้านและคอนโดมิเนียมให้เห็นบรรยากาศหรือวิวทิวทัศน์ภายนอกได้ค่ะ
 
เรามาเริ่มจากรู้จักกับประเภทและลักษณะของประตูกันก่อน
ประตูบานเปิด 
ที่ใช้งานกันหลักๆเลยก็จะมีประตูบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดคู่ค่ะ ซึ่งเราจะเลือกใช้แบบไหนถึงจะสะดวกกับการใช้งานนั้นขึ้นอยู่พื้นที่ใช้สอยว่า มีระยะเพียงพอสามารถเปิดได้กว้าง 90 – 180 องศาไหม โดยเลือกเปิดเข้าหรือออกฝั่งใดฝั่งหนึ่งของผนัง ประตูบานเปิดนิยมใช้งานเป็นประตูทางเข้าบ้าน ประตูภายในบ้านที่เปิดเข้าสู่ห้องแต่ละห้องและประตูห้องน้ำ
 
ประตูบานสวิง
มีลักษณะเหมือนกับประตูบานเปิดเลยค่ะ แต่จะแตกต่างกันตรงที่สามารถ ผลักเข้าหรือผลักออกได้ทั้งสองฝั่งของผนัง บานประตูประเภทนี้มักใช้กรอบอะลูมิเนียมและลูกฟักกระจกเพื่อให้สามารถมองเห็นอีกฝั่งได้ ป้องกันการเปิดชนกันกันค่ะ บริเวณกรอบบานจะมีอุปกรณ์สวิงลักษณะเหมือนแกนหรือเดือยยึดกับพื้นด้านล่างและวงกบหรือบานประตูหน้าต่างที่ต่อเนื่องด้านบน ประตูแบบนี้เหมาะกับพื้นที่มีคนเข้า-ออกเป็นประจำ เรามักจะเห็นในสถานที่สาธารณะอย่างห้องประชุมสัมนา โรงละคร ฯลฯ ไม่ค่อยนำมาใช้ในบ้านพักอาศัยบ่อยนัก
 
ประตูบานเฟี้ยม
ประตูบานเฟี้ยมจะมีลักษณะเป็นบานพับต่อเนื่องกัน โดยพับทบสลับกันไปรวมที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ทำให้เปิดได้กว้างกว่าประตูรูปแบบอื่นและใช้พื้นที่น้อย จึงนิยมนำมาใช้ในการแบ่งพื้นที่ หรือเป็นฉากกั้นห้องภายในบ้านหรือห้องในคอนโดมิเนียมค่ะ ประตูบานเฟี้ยมยังเป็นที่นิยมนำมาใช้ตกแต่งบ้าน เพื่อให้ได้ความสวยงามและยังได้เรื่องประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการได้ด้วยค่ะ
 
ประตูบานเลื่อน
ประตูบานเลื่อนนั้นมีลักษณะประตูที่เลื่อนไปด้านข้าง ซึ่งจะมีรางสำหรับเลื่อน มีทั้งแบบรางเลื่อนบนและรางเลื่อนล่าง และมีทั้งบานเดี่ยว บานคู่ ไปจนถึงบานเลื่อนสามตอนก็มีให้เห็นบ่อยๆเช่นกัน โดยหากเป็นบานเลื่อนเดี่ยวหรือบานเลื่อนคู่กระจกใส จะสามารถมองเห็นวิวได้ทั้งบาน แต่จะทำให้พื้นที่การเดินเข้า-ออกเหลือแค่ครึ่งเดียวค่ะ
 
รางเลื่อนถ้าอยู่ด้านล่างจะทำให้เป็นพื้นที่เก็บฝุ่นทำความสะอาดยากหน่อยนะคะ ส่วนถ้าเป็นรางด้านบนอย่างเดียวจะช่วยให้ดูสวยงามและไม่เก็บฝุ่น แต่อาจจะทำให้บานแกว่งได้นิดหน่อยนะคะ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละที่ค่ะ ซึ่งประตูบานเลื่อนจะมีข้อดี คือ  ประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน นิยมใช้เป็นประตูทางเข้าหน้าบ้าน หรือกั้นพื้นที่ใช้งานในแต่ละส่วนภายในบ้าน
 
มาดูวัสดุประตูและหน้าต่างกันค่ะ
 
ประตู หน้าต่าง ปัจจุบันทำมาจากหลากหลายวัสดุและมีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้งาน เช่น บานเลื่อน บานเฟี้ยม บานเปิด บานติดตาย บานกระทุ้ง เป็นต้น โดยวันนี้เราจะพามาชมวัสดุที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันนะคะ ได้แก่ วัสดุไม้ (Wood) เหล็ก (Steel) อลูมิเนียม (Aluminum) ยูพีวีซี (UPVC) ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับงบประมาณและคุณสมบัติที่ต้องการใช้เลือกใช้งานค่ะ
 
ไม้
ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีการใช้งานมายาวนานกันอย่างแพร่หลายนะคะ ประตูไม้จริงส่วนมากจะเป็นทำจากไม้เนื้อแข็งเพื่อกันปลวก ได้แก่ ไม้สัก(ไม้เนื้ออ่อนที่มียางป้องกันปลวก) ไม้แดง ไม้เต็ง เป็นต้น เดิมที่ไม้จัดเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในอดีต เป็นวัสดุที่มีลวดลายสวยงาม มีความยืดหยุ่นตัวสูงไปตามสภาพแวดล้อม สามารถตัดแต่งขึ้นรูปได้ตามต้องการเลย แต่ปัจจุบันการเลือกนำไปใช้งานน้อยลงเนื่องจากไม้จริงที่มีคุณภาพค่อนข้างหายากและมีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งยังต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน จึงไม่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตในปัจจุบันเท่าที่ควรค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้ผู้คนไม่ค่อยมีเวลาและต้องการวัสดุที่พร้อมใช้งานดูแลได้ง่ายมากกว่า ราคาและค่าแรงของช่างที่ชำนาญในการติดตั้งก็เพิ่มมากขึ้น
 
ราคา : ประมาณ 3,000 – 50,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าบานและประเภทของไม้ที่เลือกใช้)
 
ข้อดีของประตูไม้และหน้าต่างไม้
 
ถึงแม้ไม้จริงจะมีราคาสูงแต่ก็แลกมากับคุณภาพและความแข็งแรง คงทน อายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งประตูไม้บางชนิดใช้ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก มีคุณสมบัติในการทนแดดทนฝนได้ดี น้ำหนักเบา สีสันและลวดลายธรรมชาติของไม้ก็มีให้เลือกหลายแบบตามแต่ละชนิดของไม้
 
ข้อเสียของประตูไม้และหน้าต่างไม้
 
ถ้าเราเลือกใช้ไม้ที่คุณภาพดี มีราคาสูงหน่อยก็จะไม่ค่อยเกิดปัญหาในการใช้งานสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราเลือกใช้ไม้ที่คุณภาพด้อยลงมาอาจเกิดการแตกของเนื้อไม้เมื่อเจอความร้อนสูงเป็นเวลานาน และประตูไม้บางชนิดมักเกิดการพองตัว บิด งอ โก่ง เมื่อสภาพอากาศหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง จึงเหมาะที่จะใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารเท่านั้นเพราะหากนำไปติดตั้งภายนอกอาคาร อาจทำให้อายุการใช้งานลงลด
 
ไม้สำเร็จรูป
ไม้สำเร็จรูปเป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนไม้จริง ประตูไม้สำเร็จรูปจะผลิตจากไม้เช่นกันแต่จะเป็นไม้อัด แล้วใช้แผ่นลามิเนตมารีดแปะบนไม้ หรือเป็นไม้ที่มีส่วนผสมของวัสดุชนิดอื่น มีราคาย่อมเยากว่าและหาซื้อได้ง่ายกว่า ประตูไม้สำเร็จรูปจัดเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน มีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย โดยสามารถแบ่งได้ตามวัสดุต่างๆ ดังนี้
 
– ประตูไม้อัด หรือ ประตูไม้ MDF (Medium Density Fiber Board)
 
ประตูไม้อัดหรือประตูไม้ MDF เป็นบานประตูที่เหมาะกับงานภายในอาคารเนื่องจากมีความแข็งแรงน้อย ไม่ทนต่อสภาพความชื้นและแสงแดด ไม่สามารถใช้ในส่วนที่โดนน้ำได้โดยเฉพาะภายในห้องน้ำ หรือส่วนที่จะโดนฝนโดนแดดตลอด ข้อดีคือราคาถูก น้ำหนักเบา มีขนาดมาตรฐานให้เลือกหลากหลาย แต่ไม่ค่อยแข็งแรงผุง่าย ไม่ทนความชื้นและแสงแดด
 
ราคา : ประมาณ 700 – 1,500บาท
 
– ประตูไม้ HDF (High Density Fiber)
 
ประตูไม้ HDF เป็นประตูที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นประตูไม้ที่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีป้องกันปลวกและทนต่อความชื้นมาแล้ว คุณภาพดีกว่าประตูไม้อัด MDF สามารถทนความชื้นได้ดี แต่ความแข็งแรงของประตูยังสู้ไม้จริงไม่ได้ ลักษณะของประตูโครงสร้างภายในจะเป็นไม้ประกบแผ่น Particle Board ที่นำไม้ชิ้นขนาดเล็ก มาอัดเป็นแผ่นด้วยความร้อนและกาวประสานอินทรีย์ ส่วนภายนอกนำแผ่นใยไม้มาผสมเรซินแล้วอัดขึ้นรูปด้วยแรงดันสูง จึงทำให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับประตูไม้อัดแต่คงทนกว่า ไม่ยืดหด บิดงอ สามารถทำลวดลายให้ใกล้เคียงกับไม้จริงได้ เหมาะกับงานติดตั้งภายในมากกว่าภายนอก แต่ถึงคุณสมบัติของประตูไม้ HDF จะทนต่อความชื้น แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำและใช้งานที่ต้องโดนแสงแดดโดยตรงนะคะ
ข้อดี ของประตูไม้ HDF คือมีราคาไม่แพง ลวดลายไม้คล้ายกับไม้จริง มีหลายสีให้เลือกใช้งาน เป็นวัสดุที่ไม่พองตัว โก่ง บิด งอ มีความคงทนกว่าประตูไม้อัด เหมาะกับการใช้งานสำหรับพื้นที่ภายใน เพราะไม่สามารถโดนแดดฝนได้
 
ราคา : ประมาณ 2,000 – 5,000 บาท (ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาด)
 
ประตูไม้ Engineer
ประตูไม้ Engineer เป็นการผสมกันระหว่างไม้จริงกับไม้สำเร็จรูป โดยการนำข้อดีของทั้งสองมารวมกัน ใช้ไม้จริงมาทำโครงสร้างของประตูและผิวหน้าจะเป็นผิวไม้วีเนียมาทับด้านหน้าอีกครั้งหนึ่ง ด้านคุณสมบัติจะมีความคงทนที่ดีกว่าประตูไม้ HDF และแข็งแรงเทียบเท่าประตูไม้จริง อีกทั้งลดการบิดงอ หดตัวหรือแตกร้าว มีความแข็งแกร่งและทนทานมากขึ้นมาจากไม้จริง
 
ราคา : ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท
 
ประตู WPC (Wood-Plastic Composite)
ประตู WPC เป็นไม้ผสมพลาสติก หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า“ไม้พลาสติก” ซึ่งถือเป็น
เทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาทนแทนการใช้ไม้จริง โดยประตูไม้ WPC (Wood Plastic Composite) ผลิตขึ้นจากเศษไม้และผงพลาสติก ผ่านขบวนการผลิตจากเครื่องจักรเช่นเดียวกับการขึ้นรูปพลาสติกทั่วไป ทำการฉีดและรีดขึ้นรูป การใช้งานหลักจะใช้เป็นประตูภายนอก มีคุณสมบัติเหมือนไม้จริงและมีความแข็งแรงกว่าพลาสติก สามารถกันน้ำ ทนความร้อนและแสงแดดได้ดีค่ะ ไม้พลาสติกจะทนทานต่อความชื้น ต้านทานต่อเชื้อราและแมลงที่เป็นศัตรูของไม้ได้ ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้นานกว่า สามารถผลิตให้มีรูปร่างต่างๆ ได้โดยไม่ทำให้เกิดเศษเหลือใช้ด้วยค่ะ
 
ราคา : ประมาณ 1,000 – 5,000 บาท (ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาด)
 
ประตูหน้าต่างอลูมิเนียม (Aluminum)
ประตูหน้าต่างอลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเนื่องจากราคาที่ค่อนหลากหลายมีทั้งราคาไม่แพงไปจนถึงเกรดคุณภาพดีๆราคาแพงให้เลือกใช้ อะลูมิเนียมที่ใช้ทำประตูหน้าต่างมี 2 ประเภท คือ อลูมิเนียมชุบสีด้วยไฟฟ้า (Anodizing) มี 3 สีหลักๆคือ สีชาอ่อน สีชาเข้ม และสีดำ อีกประเภทคือ อลูมิเนียมพ่นอบสี (Powder Coating) เป็นการพ่นและอบผงสีเคลือบบนพื้นผิว ทำสีได้หลายเฉด ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดีกว่าและราคาสูงกว่าประเภทแรก แต่ว่าอลูมิเนียมเป็นโลหะที่ไม่แกร่ง จึงบุบจากการกระแทกและมีรอยขูดขีดได้เช่นกัน โดยปกติแล้วควรเลือกใช้อลูมิเนียมความหนาไม่น้อยกว่า 1.2 มิลลิเมตร ในการใช้งาน
 
ราคา : คิดเป็นราคาต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดกระจกที่เลือกใช้ เริ่มต้นประมาณ 1,300 บาท/ตารางเมตร
 
คุณสมบัติเด่นของอลูมิเนียม คือ สามารถทนความร้อนของแสงแดดได้ดี แตกต่างจากวัสดุอื่นๆ ทำให้สามารถทนแดดทนฝน เนื่องจากลักษณะวัสดุอลูมิเนียมที่เป็นโลหะ จึงไม่มีคุณสมบัติอมน้ำ ทนต่อความชื้นและไม่เป็นสนิม มีสีให้เลือกมากมาย ราคาไม่สูงจนเกินไป และสามารถสั่งทำในรูปแบบตามขนาดที่ต้องการได้ ติดตั้งและดูแลทำความสะอาดง่ายและไม่ติดไฟ แต่ประตูและหน้าต่างอลูมิเนียมมักมีปัญหาการรั่วซึมตามรอยต่อ และด้วยคุณสมบัติของโลหะจึงส่งผ่านความร้อนเข้าตัวบ้านได้ โดยความร้อนจะถูกเก็บสะสมไว้ที่วงกบและบานประตูหน้าต่างจะค่อยๆซึมเข้าสู่ภายในตัวอาคาร อีกทั้งการเปิดปิดมักมีเสียงดังจากโลหะกระทบกัน จึงต้องมีอุปกรณ์กันกระแทกติดตั้งมาเพิ่มให้ และวัสดุอลูมิเนียมจะแพ้ความชื้นจากไอเค็มจากทะเลทำให้เกิดการกร่อนตัวได้
 
ประตูหน้าต่างพีวีซี (PVC)
PVC หรือ Polyvinyl Chloride เป็นวัสดุประเภทพลาสติก เมื่อนำมาทำประตูหน้าต่างจะเสริมโครงเหล็กหรืออลูมิเนียมด้านใน เป็นประตูที่ทำมาจาก PVC จะเติมสารชนิดอื่นๆเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถนำไปขึ้นรูปประตูโดยใช้การรีดขึ้นรูปตามแบบค่ะ โดยปกติจะมีความหนาของโครงสร้างของประตูอยู่ที่ประมาณ 0.5 -1 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางจึงต้องเสริมขอบโดยรอบบานด้วยคิ้ว PVC ทำให้ขอบของประตูมีสันไม่เรียบเนียนค่ะ
 
ถ้าดูที่คุณสมบัติของประตู PVC ด้วยความที่เป็นวัสดุพลาสติกจึงทำให้ทนความชื้นได้ดี ปลวกไม่กิน น้ำหนักเบาค่ะ จึงทำให้เหมาะสำหรับติดตั้งเป็นประตูห้องน้ำ ห้องครัว แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังในการใช้งานเนื่องจากเป็นวัสดุที่ไม่ค่อยแข็งแรง บางกรอบ และแตกหักได้ง่ายและไม่ทนแรงกระแทกนะคะ อายุการใช้งานจึงสั้นกว่าประตูชนิดอื่น ประตู PVC จึงเหมาะกับการใช้งานชั่วคราว หรืองานที่ไม่ต้องการความแข็งแรงทนทานมากนัก ไม่เหมาะสำหรับติดภายนอกอาคาร บริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะวัสดุจะเสื่อมสภาพเร็ว แต่ก็มีข้อดีอีกอย่างคือสามารถทำความสะอาดง่าย ติดตั้งง่าย และมีราคาถูกกว่าประตูชนิดอื่นๆ จึงนิยมนำมาใช้เป็นประตูทางออกด้านหลังบ้าน, ลานซักล้าง ประตูห้องน้ำในสวนค่ะ
 
ราคา : ประมาณ 500 – 2,000 บาท
 
ประตูหน้าต่างยูพีวีซี (UPVC)
ประตูหน้าต่าง UPVC ( Unplasticized Poly Vinyl Chloride) หรือที่เรียกกันว่าประตูหน้าต่างไวนิลนั่นเองค่ะ UPVC เป็นวัสดุสังเคราะห์ชนิดหนึ่งได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเคมีภัณฑ์ เป็นโพลิเมอร์พื้นฐานที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าโพลิเมอร์หรือพลาสติกทั่วไป ประตูหน้าต่าง UPVC จะมีโครงสร้างภายในเป็นเหล็กเคลือบกันสนิม ห้อหุ้มด้วยวัสดุไวนิล หรือ UPVC สามารถออกแบบและผลิตได้หลากหลายรูปแบบเลยค่ะ
 
ประตูชนิดนี้มีคุณสมบัติที่กันน้ำที่ผิวหน้าได้ดี มีสีในเนื้อวัสดุ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีขาว ผิวเป็นเงาแต่ทาสีทับไม่ได้ มักใช้เป็นประตูห้องน้ำหรือประตูภายนอกบ้าน มีความคงทน อายุการใช้งานนาน ป้องการรั่วซึมได้ดี และเนื่องจากเป็นบานที่ออกแบบมาจากโรงงานจึงมีความแนบสนิทพอดีไม่มีช่องว่าง สามาถกันได้ทั้งเรื่องเสียงรบกวน น้ำจากฝนที่จะซึมเข้ามา รวมถึงฝุ่นละอองได้ เนื้อวัสดุไม่หดหรือขยายตัว ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดี เป็นฉนวนกันความร้อนหรือความเย็น สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ สามารถติดมุ้งลวดได้ ทำความสะอาดได้ง่าย และปลอดภัยไม่ติดไฟไม่เป็นเชื้อเพลิงของไฟ ปลวกไม่กินค่ะ
 
แต่การติดตั้งประตู UPVC จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการแก้ไขงานที่ผิดพลาดจะยากกว่าอลูมิเนียม ส่วนการดูแลรักษา หากมีรอยขูดขีด อลูมิเนียมจะเก็บงานง่ายกว่า UPVC อีกทั้งกรอบบานของ UPVC จะมีขนาดใหญ่กว่ากรอบบานอลูมิเนียม ซึ่งถ้าต้องการให้หน้าต่างมีมุมมองที่กว้างมากขึ้น กรอบบาน UPVC อาจจะกินพื้นที่ไปบ้าง
 
ราคา : บานใหญ่ บานเลื่อน, บานเปิดคู่ 12,000 – 30,000 บาท
 
ราคา : บานติดตาย 2,000 – 5,000 บาท ไปจนถึงหลักหมื่น (ราคาขึ้นอยู่กับแบรนด์และรูปแบบ)
 
เราไปดูประเภทของบานและกรอบบานประตู-หน้าต่างกันไปแล้ว เรามาดูวัสดุด้านในอย่างกระจก ที่เป็นวัสดุที่นิยมใช้งานร่วมกันกับประตูหน้าต่างของบ้านและอาคารในปัจจุบันนะคะ ซึ่งก็มีให้เลือกใช้งานค่อนข้างหลากหลาย กระจกเป็นวัสดุโปร่งใสที่สามารถเปิดให้แสงแดดจากธรรมชาติส่องผ่านเข้าไปสร้างความสว่างให้กับพื้นภายในได้อย่างเต็มที่ นอกจากจะใช้ในงานประตูหน้าต่างรอบตัวบ้าน ยังสามารถนำมาติดตั้งเป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างห้องภายในได้ด้วยเช่นกัน ช่วยกระจายแสงสว่างภายในบ้านได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกระจกก็เป็นวัสดุที่ต้องการการดูแลรักษาและต้องระมัดระวังในการใช้งานเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามชนิดของกระจกก็เป็นตัวแปรสำคัญที่หากใช้ถูกประเภท ถูกลักษณะงานแล้ว ก็จะทำให้เราดูแลได้ง่ายขึ้นค่ะ
 
กระจกธรรมดา (Float Glass)
กระจกใส (Clear Float Glass) คือ กระจกโปร่งแสงและไม่มีสี สามารถมองผ่านได้อย่างชัดเจน สามารถมองเห็นจากภายนอกเข้ามาภายในได้ มีค่าการตัดแสงประมาณ 8% สำหรับกระจกใสหนา 12 มิลลิเมตร และตัดแสงได้มากขึ้นตามความหนาของกระจก โดยกระจกชนิดนี้จะดูดกลืนความร้อนได้น้อยมากจึงทำให้ผิวกระจกไม่ร้อนเมื่อต้องอยู่กลางแสงแดดหรือในอุณหภูมิสูงระหว่างวัน โดยปกติแล้วกระจกใสจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบคุณภาพทั่วไปและแบบคุณภาพพิเศษ มีให้เลือกตั้งแต่ความหนา 2-19 ม.ม. ความกว้างประมาณ 3 เมตร และความยาวถึง 12 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาและขนาด ส่วนความหนาที่นิยมกับงานทั่วไปจะอยู่ที่ 5-6 ม.ม.
 
คุณสมบัติเด่นของกระจกใส คือ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก จึงเหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่ก็สามารถนำมาใช้กับบ้านพักอาศัยได้เช่นกัน ใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอกกับอาคารทุกประเภท แต่เนื่องจากกระจกใสมีค่าการสะท้อนแสงน้อย จึงเหมาะสำหรับห้องที่ต้องการมองทัศนียภาพภายนอกที่ชัดเจน ความใสและโปร่งแสงของกระจกอาจทำให้การใช้งานจะไม่ค่อยเป็นส่วนตัวสักเท่าไหร่ แต่ก็สามารถติดตั้งม่านหรือติดฟิล์มเพื่อความเป็นส่วนตัวเพิ่มเติมได้
 
สำหรับกระจกตามที่มีขายจะมีทั้งสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของแผ่นกระจก จะอยู่ที่ราคาเริ่มต้นประมาณ 16 – 20 บาท/ตารางฟุต โดยราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดความหนาเเละความยาว
 
กระจกลามิเนต (Laminated Glass)
กระจกลามิเนต จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ประกอบไปด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปเช่นกัน และชั้นกลางเป็นฟิล์มนิรภัย มาประกบหรือติดด้วย PVB (Poly Vinyl Butyral) ทำให้กระจกจะติดกับ PVB ไม่ร่วงหล่นจากกรอบ โดยข้อดีของกระจกลามิเนต คือ ผู้ออกแบบสามารถเลือกชนิดของกระจกทั้ง 2 ฝั่งที่จะนำมาประกบกันได้ เพื่อให้ได้คุณสมบัติครบตามต้องการ เช่น ฝั่งหนึ่งเลือกเป็นกระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) เพื่อให้มีความแข็งแรง ส่วนอีกด้านหนึ่งเลือกกระจกตัดแสงเพื่อให้ช่วยดูดซับรังสีความร้อน
 
คุณสมบัติที่ดีของกระจกลามิเนต คือ เมื่อกระจกแตกชิ้นส่วนจะไม่หลุดออกจากฟิล์ม ทำให้มีความปลอดภัย และฟิล์มตรงกลางยังสามารถกรองแสงและกันรังสียูวีได้ถึง 95% ช่วยป้องกันเสียงรบกวนภายนอก และเก็บเสียงได้ดีกว่ากระจกธรรมดา ทนต่อแรงดันลมในที่สูง ทนต่อแรงอัดกระแทกและช่วยป้องกันการบุกรุกจากการโจรกรรมได้
 
กระจกลามิเนตสามารถเคลือบสีได้ตามความต้องการ โดยกระจกลามิเนตมักจะนำมาใช้งานภายในส่วนมากจะทำเป็นผนังห้อง หน้าต่างหรือบานประตู ใช้เป็นกระจกด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะกระจกที่ต้องการป้องกันการบุกรุก หรือต้องการลดเสียงรบกวน เช่น หน้าต่างช่องเปิดแบบต่างๆ หรือใช้ทำระเบียงราวกันตก , หลังคา Skylight , กันสาด และ Facade เป็นต้น
 
แต่ในการใช้งานเมื่อเทียบความหนาในขนาดเดียวกันกับกระจกธรรมดา กระจกนิรภัยลามิเนตจะรับแรงได้น้อยกว่ากระจกธรรมดา ส่วนฟิล์ม PVB มีคุณสมบัติดูดความชื้น กรณีถ้าใช้กระจกลามิเนตในบริเวณที่มีความชื้นสูงจะทำให้การยึดเกาะระหว่างกระจกและฟิล์มไม่ดีอาจเกิดการแยกตัวออกจากกันได้ ส่วนราคากระจกโดยประมาณจะเริ่มตั้งแต่ 1,200-1,500 บาท/ตร.ม. ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกและจำนวนที่สั่งซื้อนะคะ
 
กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass)
กระจกเทมเปอร์ หรือที่เราเรียกกันว่ากระจกนิรภัย กระจกชนิดนี้จะผ่านวิธีการอบด้วยความร้อนสูง การแตกของกระจกเทมเปอร์ จะแตกกระจายออกเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดข้าวโพด และมีความคมน้อย จึงค่อนข้างปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุ สำหรับคุณสมบัติและประโยชน์การใช้งานจะคล้ายกับกระจกลามิเนต แตกต่างกันที่ไม่มีฟิล์มกั้นตรงกลาง และไม่สามารถกรองแสงได้ แต่สามารถรับแรงที่มากระทบกระจกซึ่งเกิดจากลม แรงดันจากคน หรือแรงดันของน้ำในกรณีที่เป็นสระน้ำ สามารถทนต่อแรงกระทบได้มากกว่ากระจกธรรมดา ที่มีความหนาเดียวกัน 3-5 เท่า สามารถทนทานต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลันได้
 
โดยทั่วไปเรามักเห็นการใช้กระจกเทมเปอร์ เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ ผนังกั้นภายใน ผนังกระจกทั้งสองหน้า และภายในตัวอาคารได้ หรือใช้ทำเป็นหน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจกของอาคารในบริเวณที่เผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ และใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า มีความหนาให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 4, 5, 6, 8, 10, 12, 15, 19 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับประเภทในการใช้งาน ส่วนราคากระจกโดยประมาณจะมีตั้งแต่ 1,000 บาท/ตร.ม. (หนา 6 mm.) ถึง 2,000 บาท/ตร.ม. (หนา 10 mm.) ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจก คุณภาพ และจำนวนที่สั่งซื้อ
 
กระจกฉนวน (Insulated Glass Unit – IGU)
กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Units) เป็นกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกัน มีช่องว่างระหว่างกลาง (Air gap) โดยมี Aluminium Spacer ซึ่งบรรจุสารดูดความชื้นแล้วใส่ฉนวน เช่น อากาศแห้ง (Dried Air) หรือ ก๊าซเฉื่อย ไว้ภายในเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาอุณภูมิภายในได้ดีมาก สามารถสะท้อนความร้อนได้ประมาณ 95%-98% และไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก
 
การนำไปใช้งานของกระจกประเภทนี้จะมุ่งเน้นการใช้งานไปในแนวทางการประหยัดพลังงานภายในอาคารและการใช้งานสำหรับอาคารเฉพาะทางเนื่องจากมีคุณสมบัติ คือ การยอมให้แสงผ่านเข้ามาภายในอาคารมากแต่ความร้อนที่จะผ่านกระจกเข้ามาน้อยจึงมักนิยมใช้สำหรับอาคารที่ต้องการควบคุมอุณภูมิให้คงที่ตลอดเวลา เช่น พิพิธภัณฑ์อาคารเก็บอาหาร ห้องเก็บไวน์ และก็มีพบได้ในโครงการพักอาศัยที่เลือกใช้กระจกฉนวน (Insulated Glass Unit- IGU) ตัดแสงมาในส่วนของหน้าต่าง ป้องกันการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในกับภายนอกอาคาร หรือใช้ทำเป็นราวกันตกบริเวณระเบียงช่วยลดความร้อนที่ส่องเข้ามาพื้นที่ระเบียงได้ ในส่วนของราคากระจกโดยประมาณ ตั้งแต่ 2,000-2,500 บาท/ตรม ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกและชนิดของช่อง Air gap ที่อยู่ตรงกลางระหว่างกระจก
 
กระจกเขียวตัดแสง (Green Tinted Glass)
กระจกชนิดนี้จะถูกเคลือบสารโลหะอื่นๆ โลหะแต่ละชนิดจะให้สีสะท้อนตามคุณสมบัติเฉพาะของโลหะแต่ละตัว ซึ่งสารเคลือบเหล่านี้จะให้แสงผ่านได้มาก แต่ความร้อนผ่านได้น้อย จึงทำให้กระจกเขียวตัดแสง มีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถป้องกันรังสี UV และสะท้อนพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่ส่องมากระทบผิวกระจก ได้สูงถึง 50% เลยทีเดียว แต่ยังคงปล่อยให้แสงสว่างส่องผ่านได้ และช่วยประหยัดพลังงานโดยช่วยลดภาระการใช้เครื่องปรับอากาศภายในบ้านลง และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ กระจกตัดแสงที่เราเห็นนิยมใช้กันทั้งในบ้านหรือคอนโดส่วนมากจะเป็นสีเขียวและสีฟ้า ซึ่งสีแต่ละแบบก็จะให้คุณสมบัติการการใช้งานที่แตกต่างกันไปอีก ได้แก่
 
กระจกเขียว – เป็นกระจกตัดแสงประเภทหนึ่ง ที่ให้แสงสว่างส่องผ่านได้มากถึง 75% แต่กลับให้ความร้อนผ่านได้แค่ 49% เท่านั้น จึงช่วยให้ได้ทั้งความเย็น และความสว่างปลอดโปร่งไปพร้อมกัน เหมาะกับที่พักอาศัยโดยทั่วไป
 
กระจกสีฟ้า – เป็นกระจกตัดแสงที่ดีขึ้นมาอีกระดับ โดยความร้อนจะผ่านได้เพียง 43% และเปิดรับแสงธรรมชาติอย่างพอเหมาะที่ 58% ทั้งนี้ ราคาจะสูงกว่ากระจกสีเขียว
 
กระจกสีชา – ความร้อนผ่านได้น้อยสุดคือ 34% แต่ยอมให้แสงสว่างผ่านได้น้อยแค่ 22% จึงอาจสร้างบรรยากาศที่มืดทึบให้บ้านได้ แต่ถ้าใครต้องการแต่งบ้านโดยเน้นป้องกันความร้อนกระจกสีชาก็เป็นตัวเลือกที่ใช้ได้ดี
 
กระจกสีเทา – เป็นกระจกโทนสีเทาที่ตอนนี้กำลังเริ่มนิยมใช้กันมาก หรือที่เราเรียกกันว่า กระจกยูโรเกรย์ (Eurogrey) นอกจากจะได้ในเรื่องของความสวยงาม ธีมสีที่ดูเรียบหรู ตัวบ้านดูทันสมัยกว่ากระจกสีอื่นๆ กระจกชนิดนี้ก็ยังมีคุณสมบัติคล้ายกับกระจกเขียวตัดแสงแต่จะให้แสงผ่านได้น้อยกว่า ทำให้ภายในบ้านมืดทึบกว่า กระจกตัวนี้จึงเหมาะสำหรับกับพื้นที่ที่เน้นการใช้ที่ป้องกันแสงแดด
 
กระจก Low-E
Low-E ย่อมาจาก ‘Low Emission’ แปลว่า การถ่ายเทต่ำค่ะ หมายถึงกระจกที่มีค่าการถ่ายเทความร้อนต่ำ กระจก Low-E จะมีการเคลือบผิวกระจกด้วยสารเงิน (Silver) บางๆ โดยสารที่เคลือบกระจกจะถูกออกแบบให้สะท้อนพลังงานความร้อนออกไปแต่ยังคงให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้มาก โดยกระจก Low-E จะมีหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ระดับทั่วไปคือ ฮาร์ดโค้ทโลว์อี (Hard Coat Low-E) ค่าการถ่ายเทความร้อน (Emissivity) 15% – 36% และกระจกซอฟท์โค้ทโลว์อี (Soft Coat Low-E) ค่าการถ่ายเทความร้อนต่ำประมาณ 2% – 10% ดังนั้นกระจก Low-E จะมีคุณสมบัติแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่ากระจกธรรมดา ช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนเข้ามาภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดปริมาณเสียงภายในและเสียงเข้าตัวอาคารได้ ถ้านำกระจก Low-E ไปทำกระจกลามิเนตและกระจกฉนวน 2 ชั้น ก็จะช่วยทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น กระจกชนิดนี้นิยมใช้ในพื้นที่ที่ต้องการเปิดมุมมองกว้างๆ เช่น คอนโดมิเนียมที่ต้องการเห็นวิวแบบเต็มๆ หรือในห้องที่หันออกในทิศทางที่ได้รับแสงแดดเป็นพิเศษนั่นเองค่ะ
 
องค์ประกอบภายในกระจก Low-E
 
เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าทุกคนที่กำลังจะสร้างบ้าน หรือออกแบบบ้านเองคงได้ไอเดียสามารถเลือกใช้วัสดุประตู-หน้าต่างได้ถูกใจกันนะคะ สำหรับใครที่ต้องการเจาะลึกเรื่องวัสดุต่างๆภายในบ้าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
 
– ทำความรู้จักกับวัสดุภายในครัว
 
– รู้หรือไม่ ? โถสุขภัณฑ์แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
 
– รู้จักกระจกที่ใช้ในที่อยู่อาศัย และกระจกอัตโนมัติปรับเฉดสีตามสภาพอากาศ
 
– รวมปัญหาบ้านหน้าฝน รั่ว ซึม ตรงไหน ต้องรู้อะไรบ้าง


ประตูบานเลื่อนเชียงราย 
ประตูบานเลื่อนเชียงใหม่ 
ประตูบานเลื่อนน่าน 
ประตูบานเลื่อนพะเยา 
ประตูบานเลื่อนแพร่ 
ประตูบานเลื่อนแม่ฮ่องสอน 
ประตูบานเลื่อนลำปาง 
ประตูบานเลื่อนลำพูน 
ประตูบานเลื่อนอุตรดิตถ์
ประตูบานเลื่อนกาฬสินธุ์ 
ประตูบานเลื่อนขอนแก่น 
ประตูบานเลื่อนชัยภูมิ 
ประตูบานเลื่อนนครพนม 
ประตูบานเลื่อนนครราชสีมา 
ประตูบานเลื่อนบึงกาฬ 
ประตูบานเลื่อนบุรีรัมย์ 
ประตูบานเลื่อนมหาสารคาม 
ประตูบานเลื่อนมุกดาหาร 
ประตูบานเลื่อนยโสธร 
ประตูบานเลื่อนร้อยเอ็ด 
ประตูบานเลื่อนเลย 
ประตูบานเลื่อนสกลนคร 
ประตูบานเลื่อนสุรินทร์ 
ประตูบานเลื่อนศรีสะเกษ 
ประตูบานเลื่อนหนองคาย 
ประตูบานเลื่อนหนองบัวลำภู 
ประตูบานเลื่อนอุดรธานี 
ประตูบานเลื่อนอุบลราชธานี 
ประตูบานเลื่อนอำนาจเจริญ 
ประตูบานเลื่อนกำแพงเพชร 
ประตูบานเลื่อนชัยนาท 
ประตูบานเลื่อนนครนายก 
ประตูบานเลื่อนนครปฐม 
ประตูบานเลื่อนนครสวรรค์ 
ประตูบานเลื่อนนนทบุรี 
ประตูบานเลื่อนปทุมธานี 
ประตูบานเลื่อนพระนครศรีอยุธยา 
ประตูบานเลื่อนพิจิตร 
ประตูบานเลื่อนพิษณุโลก 
ประตูบานเลื่อนเพชรบูรณ์ 
ประตูบานเลื่อนลพบุรี 
ประตูบานเลื่อนสมุทรปราการ 
ประตูบานเลื่อนสมุทรสงคราม 
ประตูบานเลื่อนสมุทรสาคร 
ประตูบานเลื่อนสิงห์บุรี 
ประตูบานเลื่อนสุโขทัย 
ประตูบานเลื่อนสุพรรณบุรี 
ประตูบานเลื่อนสระบุรี 
ประตูบานเลื่อนอ่างทอง 
ประตูบานเลื่อนอุทัยธานี 
ประตูบานเลื่อนจันทบุรี 
ประตูบานเลื่อนฉะเชิงเทรา 
ประตูบานเลื่อนชลบุรี 
ประตูบานเลื่อนตราด 
ประตูบานเลื่อนปราจีนบุรี 
ประตูบานเลื่อนระยอง 
ประตูบานเลื่อนสระแก้ว 
ประตูบานเลื่อนกาญจนบุรี 
ประตูบานเลื่อนตาก 
ประตูบานเลื่อนประจวบคีรีขันธ์ 
ประตูบานเลื่อนเพชรบุรี 
ประตูบานเลื่อนราชบุรี 
ประตูบานเลื่อนกระบี่ 
ประตูบานเลื่อนชุมพร 
ประตูบานเลื่อนตรัง 
ประตูบานเลื่อนนครศรีธรรมราช 
ประตูบานเลื่อนนราธิวาส 
ประตูบานเลื่อนปัตตานี 
ประตูบานเลื่อนพังงา 
ประตูบานเลื่อนพัทลุง 
ประตูบานเลื่อนภูเก็ต 
ประตูบานเลื่อนระนอง 
ประตูบานเลื่อนสตูล 
ประตูบานเลื่อนสงขลา 
ประตูบานเลื่อนสุราษฎร์ธานี 
ประตูบานเลื่อนยะลา 
ประตูบานเลื่อนกรุงเทพมหานคร
 
ประตูบานเลื่อนคลองสาน 
ประตูบานเลื่อนคลองสามวา 
ประตูบานเลื่อนคลองเตย
ประตูบานเลื่อนคันนายาว 
ประตูบานเลื่อนจอมทอง 
ประตูบานเลื่อนดอนเมือง
ประตูบานเลื่อนดินแดง 
ประตูบานเลื่อนดุสิต 
ประตูบานเลื่อนตลิ่งชัน 
ประตูบานเลื่อนทวีวัฒนา
ประตูบานเลื่อนทุ่งครุ 
ประตูบานเลื่อนธนบุรี 
ประตูบานเลื่อนบางกอกน้อย
ประตูบานเลื่อนบางกอกใหญ่ 
ประตูบานเลื่อนบางกะปิ 
ประตูบานเลื่อนบางคอแหลม
ประตูบานเลื่อนบางซื่อ 
ประตูบานเลื่อนบางนา 
ประตูบานเลื่อนบางพลัด 
ประตูบานเลื่อนบางรัก
ประตูบานเลื่อนบางเขน 
ประตูบานเลื่อนบางแค 
ประตูบานเลื่อนบึงกุ่ม 
ประตูบานเลื่อนปทุมวัน
ประตูบานเลื่อนประเวศ 
ประตูบานเลื่อนป้อมปราบศัตรูพ่าย 
ประตูบานเลื่อนพญาไท
ประตูบานเลื่อนพระนคร 
ประตูบานเลื่อนพระโขนง 
ประตูบานเลื่อนภาษีเจริญ 
ประตูบานเลื่อนมีนบุรี
ประตูบานเลื่อนยานนาวา 
ประตูบานเลื่อนราชเทวี 
ประตูบานเลื่อนราษฎร์บูรณะ
ประตูบานเลื่อนลาดกระบัง 
ประตูบานเลื่อนลาดพร้าว 
ประตูบานเลื่อนวังทองหลาง
ประตูบานเลื่อนวัฒนา 
ประตูบานเลื่อนสวนหลวง 
ประตูบานเลื่อนสะพานสูง
ประตูบานเลื่อนสัมพันธวงศ์ 
ประตูบานเลื่อนสาทร 
ประตูบานเลื่อนสายไหม
ประตูบานเลื่อนหนองจอก 
ประตูบานเลื่อนหนองแขม 
ประตูบานเลื่อนหลักสี่ 
ประตูบานเลื่อนห้วยขวาง
ประตูบานเลื่อนเมืองนครปฐม 
ประตูบานเลื่อนกำแพงแสน 
ประตูบานเลื่อนดอนตูม
ประตูบานเลื่อนนครชัยศรี 
ประตูบานเลื่อนบางเลน 
ประตูบานเลื่อนพุทธมณฑล 
ประตูบานเลื่อนสามพราน
ประตูบานเลื่อนเมืองนนทบุรี 
ประตูบานเลื่อนบางกรวย 
ประตูบานเลื่อนบางบัวทอง
ประตูบานเลื่อนบางใหญ่ 
ประตูบานเลื่อนปากเกร็ด 
ประตูบานเลื่อนไทรน้อย
ประตูบานเลื่อนเมืองปทุมธานี 
ประตูบานเลื่อนคลองหลวง 
ประตูบานเลื่อนธัญบุรี
ประตูบานเลื่อนลาดหลุมแก้ว 
ประตูบานเลื่อนลำลูกกา 
ประตูบานเลื่อนสามโคก 
ประตูบานเลื่อนหนองเสือ
ประตูบานเลื่อนเมืองสมุทรปราการ 
ประตูบานเลื่อนบางพลี 
ประตูบานเลื่อนบางเสาธง
ประตูบานเลื่อนพระประแดง
 ประตูบานเลื่อนพระสมุทรเจดีย์
ประตูบานเลื่อนเมืองระยอง
ประตูบานเลื่อนนิคมพัฒนา 
ประตูบานเลื่อนเขาชะเมา
ประตูบานเลื่อนบ้านฉาง 
ประตูบานเลื่อนปลวกแดง 
ประตูบานเลื่อนวังจันทร์ 
ประตูบานเลื่อนแกลง
ประตูบานเลื่อนเมืองชลบุรี 
ประตูบานเลื่อนเกาะจันทร์ 
ประตูบานเลื่อนบางละมุง
ประตูบานเลื่อนบ่อทอง  
ประตูบานเลื่อนบ้านบึง 
ประตูบานเลื่อนพนัสนิคม
ประตูบานเลื่อนพานทอง
ประตูบานเลื่อนศรีราชา 
ประตูบานเลื่อนสัตหีบ 
ประตูบานเลื่อนหนองใหญ่ 
ประตูบานเลื่อนเกาะสีชัง
ประตูบานเลื่อนเมืองสมุทรสาคร 
ประตูบานเลื่อนกระทุ่มแบน 
ประตูบานเลื่อนบ้านแพ้ว 
ประตูบานเลื่อนมหาชัย
ประตูบานเลื่อนเมืองสมุทร
ประตูบานเลื่อนอัมพวา 
ประตูบานเลื่อนบางคนที
ประตูบานเลื่อนเมืองราชบุรี 
ประตูบานเลื่อนบ้านคา 
ประตูบานเลื่อนจอมบึง
ประตูบานเลื่อนดำเนินสะดวก 
ประตูบานเลื่อนบางแพ 
ประตูบานเลื่อนบ้านโป่ง
ประตูบานเลื่อนปากท่อ
ประตูบานเลื่อนวัดเพลง 
ประตูบานเลื่อนสวนผึ้ง 
ประตูบานเลื่อนโพธาราม
ประตูบานเลื่อนเมืองฉะเชิงเทรา 
ประตูบานเลื่อนคลองเขื่อน 
ประตูบานเลื่อนท่าตะเกียบ 
ประตูบานเลื่อนบางคล้า
ประตูบานเลื่อนบางน้ำเปรี้ยว 
ประตูบานเลื่อนบางปะกง 
ประตูบานเลื่อนบ้านโพธิ์
ประตูบานเลื่อนพนมสารคาม
ประตูบานเลื่อนราชสาส์น 
ประตูบานเลื่อนสนามชัยเขต 
ประตูบานเลื่อนแปลงยาว
ประตูบานเลื่อนเมืองนครนายก 
ประตูบานเลื่อนปากพลี 
ประตูบานเลื่อนบ้านนา 
ประตูบานเลื่อนองครักษ์
 
Engine by shopup.com